อนันต์ดา อินเทลเลคชวล พร็อพเพอร์ตี้ ช่วยให้ท่านคุ้มครองเครื่องหมายการค้าของท่านในประเทศไทยและทุกประเทศทั่วโลกได้
ดังต่อไปนี้เป็นการตอบคำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับความคุ้มครองของเครื่องหมายการค้าในประเทศไทย คำแนะนำของเราเกี่ยวกับการยื่นคำขอการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในประเทศไทย สามารถดาวน์โหลดได้ ที่นี่ สำหรับคำแปลภาษาอังกฤษของพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าของประเทศไทย ดาวน์โหลดได้ ที่นี่
เครื่องหมายการค้า เครื่องหมายบริการ เครื่องหมายรับรอง และเครื่องหมายร่วม สามารถขอรับความคุ้มครองในประเทศไทยได้ภายใต้พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า ฉบับที่ 3 พ.ศ. 2559
เครื่องหมายการค้าจะต้องมีลักษณะสามประการดังต่อไปนี้เพื่อได้รับการจดทะเบียนในประเทศไทย อันได้แก่ เครื่องหมายการค้าที่มีลักษณะบ่งเฉพาะ ไม่ขัดต่อกฎหมาย และมีลักษณะอันพึงรับจดทะเบียนได้ (เช่น ไม่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนแล้ว)
ลักษณะบ่งเฉพาะ
เพื่อให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า เครื่องหมายซึ่งมีลักษณะดังต่อไปนี้ ให้ถือว่ามีความบ่งเฉพาะในประเทศไทย:
เครื่องหมายการค้าที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในประเทศไทยมาเป็นเวลานาน อาจถือว่ามีลักษณะบ่งเฉพาะได้ แม้ไม่ได้เป็นไปตามข้อกำหนดทั้งสามดังกล่าว ทั้งนี้ เพื่อให้เครื่องหมายการค้าสามารถมีลักษณะบ่งเฉพาะโดยการใช้ ผู้ขอจดทะเบียนจำต้อง
แสดงหลักฐานการใช้เครื่องหมายการค้า อาทิ สำเนาการโฆษณา ใบแจ้งหนี้ แค็ตตาล็อกสินค้า ฯลฯ
เครื่องหมายการค้าในบางกรณี ซึ่งอาจไม่เป็นไปตามหลักความบ่งเฉพาะ แต่ผู้ขอสามารถยื่นขอแสดงเจตนาไม่ขอถือสิทธิแต่เพียงผู้เดียวสำหรับภาคส่วนที่ไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะในเครื่องหมายการค้านั้นได้ โดยทั่วไปภาคส่วนที่จำต้องไม่ขอถือสิทธิแต่เพียงผู้เดียวนั้นมักจะเป็นคำสามัญ หรือคำเชิงพรรณนา เเช่นคำว่า “บริษัท” และชื่อทางภูมิศาสตร์ เช่น “กรุงเทพฯ” เป็นต้น
ในส่วนของการวางแผนกลยุทธ์ทางทรัพย์สินทางปัญญาของอนันต์ดา อินเทลเลคชวล พร็อพเพอร์ตี้นั้นรวมไปถึงการให้ คำปรึกษาก่อนจดทะเบียนเกี่ยวกับลักษณะการจดทะเบียนได้ของเครื่องหมาย และคำปรึกษาเพื่อให้เครื่องหมายการค้าสามารถบรรลุข้อกำหนดความบ่งเฉพาะได้
ไม่ขัดต่อกฎหมาย
อาจมีกรณีที่เครื่องหมายการค้ามีลักษณะต้องห้ามตามกฎหมายภายใต้พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า และระเบียบข้อบังคับของกระทรวง อันได้แก่
อนันต์ดา อินเทลเลคชวล พร็อพเพอร์ตี้ บริการให้คำปรึกษาก่อนจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าซึ่งอาจเป็นไปได้ว่ามีลักษณะอันขัดต่อกฎหมายด้วยเช่นเดียวกัน
ลักษณะอันพึงรับจดทะเบียน: ไม่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าอื่น
กฎหมายได้วางหลักไว้เกี่ยวกับการรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าซึ่งเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนแล้วของบุคคลอื่น ซึ่งแม้ว่าความเหมือนจะสามารถสังเกตเห็นได้ง่าย แต่การพิจารณาความความคล้ายคลึงนั้นตรวจสอบได้ยาก และมีความละเอียดอ่อนและซับซ้อนในรายละเอียดมากกว่า
แม้ว่าผลลัพธ์การจะได้รับจดทะเบียนหรือไม่นั้นจะเป็นดุลยพินิจของผู้ตรวจสอบ เจ้าของเครื่องหมายการค้าก็สามารถหลีกเลี่ยงความยุ่งยากและค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นได้โดยการสืบค้นฐานข้อมูลการจดทะเบียนว่าเครื่องหมายการค้าดังกล่าวนั้นมีความเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของผู้อื่นที่จดทะเบียนไว้แล้วหรือไม่
การสืบค้นความเหมือนและความคล้าย (รวมถึงการถอดเสียงเครื่องหมายการค้าเป็นภาษาไทย) หรือการสืบค้นรูปประดิษฐ์ (โลโก้) สามารถดำเนินการก่อนการยื่นจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า การตรวจสอบว่าเครื่องหมายการค้าที่จะยื่นขอจดมีความเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าหรือไม่นั้น ย่อมต้องพิจารณารายการสินค้าหรือบริการที่ได้ขอยื่นจดทะเบียนเป็นสำคัญ เช่น เครื่องหมายการค้าที่ยื่นจดทะเบียนกับอาหารและเครื่องดื่มซึ่งเป็นสินค้า จะไม่มีความเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายบริการจัดเลี้ยง เป็นต้น
ทางเรายังแนะนำให้ตรวจสอบคำแปลและคำแปลทับศัพท์ของเครื่องหมายการค้าด้วย เพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยงซึ่งก่อให้เกิดความสับสน หรือความคล้ายคลึงกันระหว่างเครื่องหมายการค้า
การสืบค้นความเหมือนหรือคล้ายของเครื่องหมายการค้าและการปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญด้านเครื่องหมายการค้านั้น เป็นบริการของเราที่อนันต์ดา อินเทลเลคชวล พร็อพเพอร์ตี้ [ซึ่งรวมถึงการวางแผนกลยุทธ์ด้านทรัพย์สินทางปัญญาด้วย]
ระเบียบการยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในประเทศไทยนั้นเป็นไปในแนวทางเดียวกันกับระเบียบในการยื่นจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในประเทศอื่น อย่างไรก็ตาม ยังคงมีข้อกำหนดเฉพาะบางประการเกี่ยวกับจำพวกของสินค้าและบริการ รวมถึงหลักในการคำนวณค่าธรรมเนียมซึ่งต้องชำระต่อกรมทรัพย์สินทางปัญญา
เอกสารและข้อมูลที่ต้องใช้สำหรับการยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในประเทศไทย มีดังต่อไปนี้:
โดยปกติแล้ว อนันต์ดา อินเทลเลคชวล พร็อพเพอร์ตี้ สามารถเตรียมเอกสารที่ต้องใช้ทั้งหมดเพื่อให้พร้อมยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าภายใน 48 ชั่วโมง หากมีเอกสารที่ต้องใช้บางส่วนไม่สมบูรณ์ขณะที่ยื่น ทางเราสามารถยื่นคำขอเพื่อยื่นเอกสารภายหลังได้
ประเทศไทยดำเนินการตามขอบข่ายทั่วไปสำหรับจำพวกสินค้าและบริการสำหรับเครื่องหมายการค้าระหว่างประเทศ (การจัดจำพวกสินค้าและบริการแบบนีซ) อย่างไรก็ตาม ยังคงมีข้อกำหนดเฉพาะสำหรับประเทศไทยดังต่อไปนี้
อนันต์ดา อินเทลเลคชวล พร็อพเพอร์ตี้ สามารถตรวจสอบและให้คำแนะนำเกี่ยวกับรายการสินค้าและบริการก่อนยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการการค้าให้กับท่านได้
ประเทศไทยได้มีการกำหนดจำนวนรายการสินค้าและบริการที่ขอรับความคุ้มครองสูงสุดที่สามารถยื่นขอจดทะเบียนได้ และราคาของค่าธรรมเนียมที่ต้องจ่าย โดยการกรอกแบบฟอร์มเพื่อยื่นจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าต้องมีการระบุเป็นแต่ละจำพวกสินค้าและบริการที่ขอรับความคุ้มครอง
ค่าธรรมเนียม (สำหรับหน่วยงานราชการ) ที่ต้องชำระต่อกรมทรัพย์สินทางปัญญานั้น มีการคำนวณเป็นอัตราต่อสินค้าและบริการที่ระบุไว้ในรายการคำขอจดทะเบียน ดังนั้นค่าใช้จ่ายสำหรับการยื่นและการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในประเทศไทย จึงแตกต่างไปตามสัดส่วนต่อรายการของสินค้าและบริการที่ขอรับความคุ้มครอง
การสืบค้นฐานข้อมูลเครื่องหมายการค้านั้นเป็นขั้นตอนที่ทาเราแนะนำให้ดำเนินการอย่างยิ่ง ก่อนที่จะมีการยื่นคำขอจดทะเบียนในประเทศไทย เนื่องจากระยะเวลาในการตรวจสอบคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าเป็นเวลายาวนานถึง 9 เดือน ดังนั้น การตระหนักว่าเครื่องหมายการค้าจะได้รับจดทะเบียนได้หรือไม่ (โดยการสืบค้นฐานข้อมูลเครื่องหมายการค้าเพื่อค้นหาเครื่องหมายการค้าที่เหมือนหรือคล้าย) จะสามารถทำให้ผู้ขอจดทะเบียนคะเนถึงโอกาสในการได้รับจดทะเบียนของเครื่องหมายการค้าของตนเองได้ก่อนที่จะยื่นจดทะเบียนจริง
การสืบค้นความเหมือนและความคล้าย (รวมถึงการถอดเสียงเครื่องหมายการค้าเป็นภาษาไทย) หรือการสืบค้นรูปประดิษฐ์ (โลโก้) สามารถดำเนินการก่อนการยื่นจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า ในส่วนนี้ ทางเราแนะนำให้มีการตรวจสอบคำอ่านและคำแปลของเครื่องหมายการค้าก่อนยื่นจดทะเบียนเพื่อหลีกเลี่ยงความสับสนหลงผิดหรือประเด็นความเหมือนคล้าย
อนันต์ดา อินเทลเลคชวล พร็อพเพอร์ตี้ สามารถสืบค้นฐานข้อมูลเครื่องหมายการค้าให้กับท่านได้ภายในเวลาเพียง 24 ชั่วโมง
ประเทศไทยเป็นสมาชิกขององค์กรการค้าโลก (World Trade Organization) และเป็นผู้ลงนามในอนุสัญญากรุงปารีส ดังนั้นจึงสามารถขอให้ถือวันที่ยื่นคำขอนอกราชอาณาจักรเป็นวันยื่นคำขอในราชอาณาจักร (หากได้มีการยื่นขอจดทะเบียนไว้นอกราชอาณาจักรไม่เกิน 6 เดือน) ซึ่งเป็นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่ยื่นไว้ในประเทศอื่นที่ลงนามเป็นสมาชิกขององค์กรการค้าโลก หรืออนุสัญญาปารีส
ผู้ขอจดทะเบียนการค้าหรือตัวแทนต้องมีแหล่งพำนักหรือสำนักงานในประเทศไทย หากผู้ขอจดทะเบียนมีภูมิลำเนาอยู่ภายนอกประเทศไทย ผู้ขอจดทะเบียนต้องแต่งตั้งตัวแทนในประเทศไทยและมีหนังสือมอบอำนาจที่รับรองโดยโนตารีพับลิค
ประเทศไทยเป็นภาคีสมาชิกผู้ลงนามในพิธีสารมาดริด ดังนั้นประเทศไทยจึงจัดเป็นหนึ่งในประเทศสมาชิกที่เข้าร่วมการยื่นขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าระหว่างประเทศ (ระบบมาดริด) หรือ อาจสามารถยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในประเทศได้ (ผ่านการตั้งตัวแทนในประเทศไทย)
ระยะเวลาโดยประมาณสำหรับเครื่องหมายการค้าจนกว่าจะเสร็จสิ้นกระบวนการจดทะเบียนในประเทศไทยคือประมาณ 9-18 เดือน โดยประกอบไปด้วย 4 ขั้นตอนหลักๆ ในการดำเนินการ อันได้แก่ ขั้นตอนการยื่นคำขอจดทะเบียน ขั้นตอนการตรวจสอบ ขั้นตอนการประกาศโฆษณา และขั้นตอนการรับจดทะเบียน
นายทะเบียนอาจออกคำสั่งเป็นฉบับหรือหลายฉบับซึ่งระบุเหตุในการปฏิเสธคำขอจดทะเบียน อาจเพราะไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะ ความเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าที่มีชื่อเสียงแพร่หลาย หรือเครื่องหมายการค้าที่ได้รับจดทะเบียนไว้แล้ว หรือด้วยเหตุขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือขัดต่อกฎหมายด้วยเหตุอื่น ซึ่งผู้ขอจดทะเบียนอาจสามารถยื่นอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าเพื่อโต้แย้งคำสั่งของนายทะเบียนได้ หรือผู้ขอจดทะเบียนอาจยื่นโต้แย้งคำสั่งนายทะเบียนต่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศได้เช่นเดียวกัน
นายทะเบียนยังสามารถเรียกให้ผู้ขอแก้ไขเพิ่มเติมคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าด้วย โดยอาจเป็นการแก้ไขเปลี่ยนแปลงรายการสินค้า /บริการ การแสดงเจตนาไม่ขอถือสิทธิแต่เพียงผู้เดียว ความหมายของเครื่องหมายการค้า หรือหลักฐานแสดงความบ่งเฉพาะโดยการใช้ของเครื่องหมายการค้า ซึ่งหากเป็นไปได้และเหมาะสม ผู้ขอจดทะเบียนอาจแก้ไขเปลี่ยนแปลงตามที่นายทะเบียนสั่งได้ หรือจะโต้แย้งคำสั่งให้แก้ไขดังกล่าวของนายทะเบียนได้เช่นเดียวกัน โดยอาจชี้แจงกับนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าโดยตรง หรืออุทธรณ์ต่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าตามที่เห็นสมควร
หลังจากที่ยื่นแก้ไขเปลี่ยนแปลงแล้ว นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าจะตรวจสอบการแก้ไขเปลี่ยนแปลงที่ได้ยื่นไว้ และหากไม่มีข้อบกพร่องอื่น นายทะเบียนจะนำคำขอเข้าสู่ขั้นตอนการประกาศโฆษณาคำขอจดทะเบียนดังกล่าวต่อไป
กระบวนการคัดค้านจะสามารถดำเนินการได้ในขั้นตอนระหว่างการพิจารณาเครื่องหมายการค้าเท่านั้น (กล่าวคือ เป็นเครื่องหมายการค้าที่เข้าสู่ขั้นตอนการประกาศโฆษณาแล้วแต่ยังไม่ได้เข้าสู่ขั้นตอนการรับจดทะเบียน) หลังจากที่ได้มีการประกาศโฆษณาเครื่องหมายการค้าบนหน้าประกาศเครื่องหมายการค้าแล้ว อาจมีการคัดค้านโดยบุคคลอื่นซึ่งเห็นว่าตนมีสิทธิดีกว่าในเครื่องหมายการค้านั้น หรืออ้างความไม่ชอบด้วยกฎหมายของเครื่องหมายการค้านั้นตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า เช่น ประเด็นเรื่องการขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดี เป็นต้น โดยคำคัดค้านต้องยื่นภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ได้ประกาศโฆษณาเครื่องหมายการค้าลงบนหน้าประกาศและจำต้องระบุประเด็นในการคัดค้านให้ชัดเจน
เมื่อบุคคลใดได้ยื่นคัดค้านไว้แล้ว นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าจะใช้เวลาประมาณ 2-3 เดือนในการตรวจคำคัดค้านก่อนที่จะแจ้งให้เจ้าของเครื่องหมายการค้าทราบ และเจ้าของเครื่องหมายการค้าต้องยื่นคำโต้แย้งคำคัดค้านภายใน 60 วันนับแต่วันที่ได้รับสำเนาคำคัดค้าน
พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าอนุญาตให้มีการยื่นเพิกถอนเครื่องหมายการค้าภายหลังจากที่ได้รับจดทะเบียนแล้วในสองลักษณะที่แตกต่างกัน อันได้แก่ การยื่นเพิกถอนเครื่องหมายการค้าต่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้า (ซึ่งอ้างเหตุที่ว่าการรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้นไม่ถูกต้อง หรือเครื่องหมายการค้านั้นไม่ได้มีการใช้จริง) และการยื่นเพิกถอนเครื่องหมายการค้าต่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ
การยื่นเพิกถอนเครื่องหมายการค้าต่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้า ซึ่งบุคคลผู้มีส่วนได้เสียหรือนายทะเบียนอาจยื่นคำขอเพิกถอนต่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าเพื่อให้เพิกถอนเครื่องหมายการค้านี้ออกจากสารระบบได้ หากปรากฏว่า ณ เวลาที่เครื่องหมายการค้านี้ได้รับจดทะเบียนนั้น เครื่องหมายการค้าที่ยื่นจดทะเบียนมีลักษณะ:
หากมีบุคคลใดมีความเห็นว่าเครื่องหมายการค้าขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดี หรือนโยบายสาธารณะ ผู้นั้นอาจยื่นคำขอเพิกถอนเครื่องหมายการค้าต่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าได้ ผู้ยื่นคำขอเพิกถอนสามารถอุทธรณ์คำขอเพิกถอนของตนต่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศได้ภายใน 90 วันนับแต่ได้รับคำตัดสินอย่างเป็นทางการจากคณะกรรมการเครื่องหมายการค้า
สามารถเริ่มกระบวนการเพิกถอนเครื่องหมายการค้าทางศาลได้โดยการยื่นเป็นคำฟ้องร้องต่อศาลในกรณีดังต่อไปนี้:
ประเทศไทยไม่ได้มีการวางระเบียบไว้ให้มีการส่งหลักฐานแสดงการใช้จริงของเครื่องหมายการค้าเพื่อคงความคุ้มครองของเครื่องหมายการค้าจดทะเบียน อย่างไรก็ตาม เป็นไปได้ว่าเครื่องหมายการค้าอาจถูกเพิกถอนออกจากสารระบบได้หาก:
การอนุญาตให้เพิกถอนเครื่องหมายการค้าอันเกิดจากเหตุไม่ใช้เครื่องหมายการค้านั้นพบเห็นได้ยาก โดยการยื่นเพิกถอนเครื่องหมายการค้านั้นมักไม่สำเร็จหากเจ้าของเครื่องหมายการค้าพิสูจน์ได้ว่าการไม่ใช้เครื่องหมายการค้านั้นเกิดจากพฤติการณ์พิเศษในทางการค้า และความจริงแล้วไม่ได้มีเจตนาที่จะละทิ้งการใช้เครื่องหมายการค้าที่ได้รับจดทะเบียนนั้นในทางข้อเท็จจริง
การละเมิดเครื่องหมายการค้านั้นพบได้น้อยลงอย่างมีนัยสำคัญในหลายปีที่ผ่านมา สถิติของประเทศไทยไม่ได้มีการจัดอันดับให้อยู่ในกลุ่มเฝ้าระวังการละเมิดในการจัดอันดับ “The United States Special 301 Watch List” อีกต่อไป และกฎหมายที่ได้มีปรับปรุงใหม่นั้นทำให้การบังคับใช้เครื่องหมายการค้าทางออนไลน์มีประสิทธิภาพมากขึ้น
ในปีพ.ศ. 2540 ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง ศาลชำนัญพิเศษ ได้มีการจัดตั้งขึ้นเพื่อช่วยเหลือเจ้าของเครื่องหมายการค้าผู้ประสบปัญหาการละเมิดสิทธิ ทุกวันนี้ศาลได้มีการพิจารณาชี้ขาดคดีละเมิดเครื่องหมายการค้าไปแล้วกว่า 2,000 คดีต่อปี
ทั้งเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนและไม่ได้จดทะเบียนนั้นสามารถบังคับใช้ในประเทศไทยได้ อย่างไรก็ตาม เครื่องหมายการค้าที่ได้รับจดทะเบียนนั้นเอื้อให้การบังคับใช้มีความรวดเร็วและง่ายขึ้น รวมถึงสามารถลดค่าใช้จ่ายในขั้นตอนการพิสูจน์เพื่อการบังคับใช้ การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ายังสามารถทำให้หยุดยั้งผู้อื่นจากการทำละเมิดได้ง่ายขึ้น
เจ้าของเครื่องหมายการค้าที่ไม่ได้จดทะเบียนนั้นยังสามารถดำเนินการทางแพ่งและทางอาญาได้ การดำเนินการทางแพ่งนั้นเป็นไปตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าและประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ โดยโจทก์ยังสามารถยร้องขอรับความคุ้มครองชั่วคราวเพื่อบรรเทาความเสียหายที่เกิดขึ้นโดยบุคคลที่พยายามลวงขายสินค้าที่ใช้กับเครื่องหมายการค้าที่ไม่ได้จดทะเบียนนั้นได้
การดำเนินการทางอาญานั้นเป็นไปตามประมวลกฎหมายอาญา อย่างไรก็ตาม คดีส่วนใหญ่มักปรากฏผลลัพธ์เป็นค่าปรับเล็กน้อยสำหรับสินค้าที่ลวงขาย และอาจไม่ใช่หนทางในการบังคับใช้สิทธิที่มีประสิทธิภาพมากนัก เว้นแต่จะปรากฏการละเมิดและเจตนาทุจริตชัดเจนซึ่งพิสูจน์ให้ศาลเห็นได้
เจ้าของเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนนั้นสามารถบังคับใช้สิทธิของตนได้ทั้งในทางช่องทางการจดทะเบียนและทางกฎหมาย โดยช่องทางการจดทะเบียนนั้นได้แก่ การยื่นคัดค้าน การยื่นเพิกถอน และการใช้สิทธิโต้แย้งอื่นตามที่ทางกรมทรัพย์สินทางปัญญาอนุญาต โดยผู้มีส่วนได้เสียหรือผู้ที่เกี่ยวข้องสามารถใช้สิทธิโต้แย้งและสามารถเจรจาไกล่เกลี่ยกับผู้ละเมิดได้ และแม้ว่าการเจรจาต่อรองนั้นจะเป็นทางเลือกที่ประหยัดค่าใช้จ่าย แต่โจทก์มักบังคับใช้ทางอาญาเพราะเป็นหนทางที่มีประสิทธิภาพมากกว่า
การดำเนินการทางกฎหมายนั้นประกอบไปด้วยการดำเนินการทางแพ่งและการดำเนินการทางอาญา
การดำเนินการทางอาญาเป็นหนทางหลักซึ่งใช้ในการบังคับใช้สิทธิเพื่อกำจัดการละเมิดเครื่องหมายการค้าในประเทศไทย เพราะเป็นหนทางที่ประหยัดค่าใช้จ่าย รวดเร็ว และได้รับค่าเสียหายชดเชยจริง การดำเนินการทางอาญานั้นประกอบด้วยขั้นตอนการร้องทุกข์ต่อเจ้าพนักงานตำรวจ ซึ่งเจ้าพนักงานตำรวจจะส่งเรื่องไปยังศาลเพื่อออกหมายค้น จากนั้นเจ้าพนักงานตำรวจจึงจะสามารถออกตรวจพื้นที่จริงเพื่อเก็บหลักฐานอันเกี่ยวกับการละเมิดและออกหมายจับผู้ละเมิดต่อไป
ปัจจุบันมีหน่วยงานส่วนบังคับใช้กฎหมายในประเทศไทยดังต่อไปนี้
เมื่อได้มีการลงพื้นที่เพื่อค้นแล้ว คดีจะถูกส่งต่อไปยังพนักงานอัยการประจำศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งจะได้มีการฟ้องเป็นคดีอาญาและมีคำตัดสินภายใน 1 ปีนับแต่ที่พนักงานอัยการได้ยื่นฟ้อง โดยคำตัดสินของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศสามารถอุทธรณ์หรือฎีกาต่อศาลฎีกาต่อไปได้
พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าได้มีการกำหนดอัตราค่าปรับสูงสุดสำหรับกรณีการละเมิดเครื่องหมายการค้า (จำคุกไม่เกิน 4 ปีและ/หรือ ปรับไม่เกิน 400,000 บาท) โดยค่าปรับสูงสุดสำหรับการเลียนเครื่องหมายการค้าคือ จำคุกไม่เกิน 2 ปี และ/หรือปรับไม่เกิน 200,000 บาท
เจ้าของเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนแล้วยังสามารถฟ้องเป็นคดีแพ่งต่อศาลได้โดยอ้างถึงหลักกฎหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ อย่างไรก็ตาม การฟ้องคดีแพ่งในกรณีการละเมิดเครื่องหมายการค้าในประเทศไทยนั้นพบเห็นได้ยาก เนื่องจากต้องการภาระการพิสูจน์ที่หนักหน่วงและยากที่จะชนะคดีได้ โดยในแง่ของการวางกลยุทธ์นั้น การฟ้องคดีแพ่งอาจเป็นเพียงมาตรการเยียวยาเบื้องต้น เช่น ในบางกรณีเจ้าของเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนสามารถยื่นฟ้องคดีแพ่งต่อศาลเพื่อให้มีการขอรับความคุ้มครองชั่วคราว และเพื่อเก็บรวบรวมหลักฐานในการละเมิดเครื่องหมายการค้า
มาตรการกักสินค้า ณ จุดผ่านแดน เป็นมาตรการที่สามารถป้องกันกรณีสินค้าที่ปลอมเครื่องหมายการค้า หรือในแง่ของการนำเข้าและส่งออกสินค้าที่ละเมิดลิขสิทธิ์ได้ (รวมถึงสินค้าที่หยุดชั่วคราวเพื่อเปลี่ยนเส้นทางภายใต้เงื่อนไขบางประการ)
ขณะนี้ยังไม่มีความชัดเจนว่า พระราชบัญญัติศุลกากรนั้นเอื้อให้มีการตรวจสอบสินค้าที่ละเมิดสิทธิบัตรของผู้อื่นหรือไม่ อย่างไรก็ตาม เจ้าของเครื่องหมายการค้าหรือตัวแทนของเจ้าของในประเทศไทย สามารถยื่นคำขอไปยังฝ่ายศุลกากรเพื่อให้มีการกักหรือหยุดการถ่ายเทสินค้าของผู้ละเมิด หรือสำหรับสินค้าที่สงสัยว่าจะละเมิดไว้ก่อนได้ โดยในการกักสินค้านั้น เจ้าของเครื่องหมายการค้าต้องยืนยันการกักสินค้าที่ละเมิดภายใน 24 ชั่วโมง
ในบางกรณี เจ้าหน้าที่ศุลกากรอาจมีการกักสินค้าแล้วตามหน้าที่ อย่างไรก็ตาม เนื่องจากยังมิได้มีหลักการเกี่ยวกับความเกี่ยวข้องระหว่างเครื่องหมายการค้าและศุลกากรบัญญัติไว้ชัดเจน เจ้าของเครื่องหมายการค้าจำต้องมีการแจ้งชื่อและที่อยู่ของตัวแทนในประเทศไทยไว้เพื่อให้ติดต่อได้ในกรณีที่ต้องมีการตรวจสอบสินค้าที่น่าสงสัย ทั้งนี้ ศุลกากรไทยจะมีการเรียกให้ชำระค่าปรับโดยคำนวณจากราคาในตลาดของสินค้าปลอมหรือที่ปรากฏเครื่องหมายการค้าที่ปลอมนั้น
ทีมงานทนายความของเราสามารถช่วยเหลือท่านเจ้าของแบรนด์ในการติดต่อสื่อสารกับเจ้าหน้าที่ศุลกากรเพื่อให้เฝ้าระวังสินค้าปลอมได้ โดยทีมงานของอนันต์ดา อินเทลเลคชวล พร็อพเพอร์ตี้ นั้นเป็นทีมที่มีประสบการณ์ในการช่วยเหลือเพื่อให้เจ้าของเครื่องหมายการค้าบังคับใช้สิทธิได้อย่างเต็มที่
ท่านสามารถเยี่ยมชมหน้าเว็บไซต์ของเราเกี่ยวกับ การสืบสวนทางทรัพย์สินทางปัญญา และ การฟ้องร้อง/ดำเนินคดีทางทรัพย์สินทางปัญญา เพื่อศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม
คำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในประเทศไทยอาจคำสั่งให้แก้ไขเปลี่ยนแปลงโดยนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าหรือคณะกรรมการเครื่องหมายการค้า หรือคำสั่งศาล หรือผู้ขอจดทะเบียนอาจยื่นเรื่องขอแก้ไขเปลี่ยนแปลงด้วยตนเองในบางกรณี
ตัวอย่างเช่น ผู้ขอจดทะเบียนอาจมีความประสงค์ที่จะตัดสินค้าหรือบริการออกจากรายการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า หรือปรับปรุงข้อมูลการติดต่อให้ทันสมัย หรือเปลี่ยนแปลงข้อมูลของตัวแทนเครื่องหมายการค้าในประเทศไทย หรือแก้ไขคำอ่านแปลของเครื่องหมายการค้า นอกจากนี้ผู้ขอจดทะเบียนยังสามารถยื่นโอนหรืออนุญาตให้ใช้เครื่องหมายการค้าตามรายละเอียดในประเด็นถัดไป