อนันต์ดา อินเทลเลคชวล พร็อพเพอร์ตี้ ให้บริการลูกความของเราในการยื่นคำขอและดำเนินการเพื่อขอรับความคุ้มครองสิทธิบัตรการประดิษฐ์ (คำขอในประเทศและคำขอรับความคุ้มครองสิทธิบัตรระหว่างประเทศตามสนธิสัญญาความร่วมมือด้านสิทธิบัตร หรือ Patent Cooperation Treaty – PCT) อนุสิทธิบัตร และสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ในประเทศไทยและทุกประเทศทั่วโลก
ดังต่อไปนี้เป็นการตอบคำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิบัตรการประดิษฐ์ และอนุสิทธิบัตรในประเทศไทย สำหรับระยะเวลาความคุ้มครองสิทธิบัตรในประเทศไทยสามารถดูได้ ที่นี่ สำหรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์ และสำหรับอนุสิทธิบัตรสามารถดูได้ ที่นี่ ในส่วนของคำแปลภาษาอังกฤษของพระราชบัญญัติสิทธิบัตรในประเทศไทยสามารถดูได้ ที่นี่
ผู้ประดิษฐ์ในประเทศมีการพัฒนาด้านอุตสาหกรรมอย่างรวดเร็วดังเช่นประเทศไทย มักมีการประดิษฐ์คิดค้นเทคโนโลยีใหม่อยู่เสมออันพึงได้รับความคุ้มครองเพื่อจุดประสงค์ดังต่อไปนี้
สิทธิบัตรสามารถตอบสนองวัตถุประสงค์เหล่านี้ได้ ด้วยการสิทธิบัตรจะให้ความคุ้มครองที่มีเวลาจำกัดกับงานนวัตกรรม โดยแลกกับการให้งานดังกล่าวถูกเปิดเผยต่อสาธารณะได้ในท้ายที่สุด แม้เป็นความคุ้มครองที่ดูไม่ซับซ้อน ทว่าสิทธิบัตรเป็นสิทธิที่รัฐให้การอนุญาตกับผู้ประดิษฐ์แต่เพียงผู้เดียว โดยให้การอนุญาตดังกล่าวมีระยะเวลาจำกัด และมีเงื่อนไขให้ในเวลาต่อมาสิทธิบัตรจำต้องถูกเปิดเผยต่อสาธารณะในวงกว้างและตกเป็นสมบัติสาธารณะในที่สุด
การยื่นคำขอจดทะเบียนสิทธิบัตรต้องประกอบด้วยคำบรรยายของการประดิษฐ์และมีข้อถือสิทธิในองค์ประกอบใดองค์ประกอบหนึ่งเป็นอย่างน้อย โดยข้อถือสิทธินี้ทำให้การประดิษฐ์หนึ่งๆ มีคุณค่าและมีความหมาย และต้องมีลักษณะอันพึงรับจดสิทธิบัตรได้ เช่น งานที่ขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์นั้นต้องมีความใหม่ และไม่เป็นที่ประจักษ์อยู่แล้ว อย่างไรก็ตาม ข้อกำหนดในการขอรับสิทธิบัตรย่อมแตกต่างกันไปสำหรับสิทธิบัตรแต่ละประเภท
ประโยชน์ของสิทธิบัตร | คำแนะนำสำหรับเจ้าของ/ผู้ขอรับสิทธิบัตร
[รายการในการตรวจสอบรับคำขอสิทธิบัตร] |
|
|
เนื่องจากความคุ้มครองสิทธิบัตรนั้นมอบสิทธิในการใช้ ผลิต และจำหน่ายงานประดิษฐ์ให้แก่เจ้าของสิทธิบัตรแต่เพียงผู้เดียว ทำให้ข้อกำหนดในการได้รับความคุ้มครองสิทธิบัตรมีรายละเอียดมากกว่าสิทธิทางทรัพย์สินทางปัญญาประเภทอื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สิทธิบัตรการประดิษฐ์ที่มีรายละเอียดค่อนข้างมาก โดยพระราชบัญญัติสิทธิบัตรไทยให้ความคุ้มครองแก่สิทธิบัตรแยกเป็น 3 ประเภท
ในลำดับแรกย่อมต้องมีการพิจารณาว่างานประดิษฐ์หรืองานออกแบบนั้นมีคุณสมบัติที่เหมาะสมกับสิทธิในการขอรับความคุ้มครองสิทธิบัตรประเภทใดจาก 3 ประเภท โดยการคุ้มครองสิทธิบัตรภายใต้กฎหมายไทยแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท ได้แก่ สิทธิบัตรการประดิษฐ์ อนุสิทธิบัตร และสิทธิบัตรการออกแบบ (หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์) สิทธิบัตรการประดิษฐ์มีข้อกำหนดในการขอรับความคุ้มครองที่เข้มงวดที่สุด ตามด้วยอนุสิทธิบัตร และสิทธิบัตรการออกแบบตามลำดับ
สิทธิบัตรการประดิษฐ์กำหนดให้การประดิษฐ์ต้องมีความใหม่ ไม่เป็นที่ประจักษ์โดยง่าย และประยุกต์ใช้ได้ในทางอุตสาหกรรม สำหรับอนุสิทธิบัตรและสิทธิบัตรการออกแบบกำหนดเพียงความใหม่และสามารถประยุกต์ใช้ได้ในทางอุตสาหกรรมเท่านั้น ทว่าไม่ได้กำหนดเรื่องการไม่เป็นที่ประจักษ์โดยง่าย
ความแตกต่างระหว่างสิทธิบัตรการประดิษฐ์และอนุสิทธิบัตรอันเกี่ยวกับความเป็นที่ประจักษ์โดยง่ายคือ สิทธิบัตรการประดิษฐ์ต้องมีลักษณะอันไม่เป็นที่ประจักษ์โดยง่าย แต่อนุสิทธิบัตรและสิทธิบัตรการออกแบบไม่จำเป็นต้องมีลักษณะดังกล่าว อย่างไรก็ตามสิทธิบัตรการออกแบบ (หรือเรียกว่า การออกแบบผลิตภัณฑ์) จำต้องมีลักษณะของการตกแต่งหรือความสวยงามของรูปทรง แบบหรือโครงสร้าง หรือลวดลายที่ปรากฏบนงาน ดังนั้นสิทธิบัตรประเภทนี้จึงแตกต่างจากอนุสิทธิบัตรและสิทธิบัตรการประดิษฐ์โดยสิ้นเชิง
ทางเราขอนำเสนอตารางสรุปความแตกต่างระหว่างสิทธิบัตรทั้ง 3 ประเภท ดังนี้
ข้อกำหนดลักษณะอันพึงได้รับความคุ้มครองสิทธิบัตร | ความคุ้มครองที่ได้รับ | ||||
ประเภทสิทธิบัตร | ความใหม่ | ความสามารถในการประยุกต์ใช้ทางอุตสาหกรรม | ขั้นการประดิษฐ์ที่สูงขึ้น: การไม่เป็นที่ประจักษ์โดยง่าย | ระยะเวลาการคุ้มครอง
(ไม่สามารถต่ออายุความคุ้มครอง) |
ขอบเขตความคุ้มครอง |
สิทธิบัตรการประดิษฐ์ | จำเป็น | จำเป็น | จำเป็น | 20 ปี | ผลิตภัณฑ์หรือกระบวนการซึ่งมีความใหม่และสามารถประยุกต์ใช้ทางอุตสาหกรรมได้ ตัวอย่างเช่น ระบบปฏิบัติการใหม่หรือการพัฒนาขึ้นใหม่ที่เกี่ยวข้องกับสาขาดังต่อไปนี้ เครื่องกลเครื่องมือ เคมี เทคโนโลยีชีวภาพ ฯลฯ |
อนุสิทธิบัตร | จำเป็น | จำเป็น | ไม่จำเป็น | 10 ปี | การประดิษฐ์ขึ้นใหม่ซึ่งสามารถยื่นขอรับความคุ้มครองสิทธิบัตรการประดิษฐ์ได้ แต่ขาดขั้นความเป็นนวัตกรรมเชิงเทคนิค โดยให้จำกัดข้อถือสิทธิเพียง 10 ข้อ |
สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ | จำเป็น | จำเป็น | ไม่จำเป็น | 10 ปี | มีลักษณะเป็นการประดับหรือทำให้รูปลักษณ์ โครงสร้าง หรือมีลวดลายที่สวยงาม |
ในลำดับต่อมาคือ หลังจากมีการพิจารณาคุณสมบัติตามข้อกำหนดเพื่อขอรับความคุ้มครองสิทธิบัตร คือ การพิจารณาว่างานที่ยื่นขอรับสิทธิบัตรนั้นมีคุณสมบัติถูกต้องตามข้อกำหนดหรือไม่
คุณสมบัติเกี่ยวกับความใหม่เป็นคุณสมบัติที่สำคัญที่สุดในการยื่นขอรับความคุ้มครองสิทธิบัตรทั้ง 3 ประเภทในประเทศไทย กฎหมายไทยวางหลักไว้อย่างชัดเจนว่า งานประดิษฐ์มีลักษณะดังต่อไปนี้ กล่าวคือ ประกอบด้วยภาคส่วนที่เป็นศิลปะหรือวิทยาการที่มีอยู่แล้วในขณะนั้น (State of the Art) อันรวมไปถึงการประดิษฐ์ที่มีลักษณะดังต่อไปนี้ให้ถือว่าขาดความใหม่
ดังที่ได้ยกมาข้างต้นจะเห็นได้ว่า ผู้ตรวจสอบสิทธิบัตรนั้นไม่ได้ประเมินความใหม่ของการประดิษฐ์จากเพียงการประดิษฐ์ที่ได้รับความคุ้มครองในประเทศเท่านั้น แต่ได้ดำเนินการตรวจสอบความใหม่ผ่านฐานข้อมูลสิทธิบัตรระหว่างประเทศ และคำขอรับความคุ้มครองสิทธิบัตรในต่างประเทศเช่นกัน และบ่อยครั้งมักพบว่า ผู้ตรวจสอบสิทธิบัตรได้ดำเนินการสืบค้นข้อมูลจากเอกสารอื่นที่เกี่ยวข้อง (สิ่งพิมพ์ งานวิจัย และข้อมูลที่พบได้ทางออนไลน์) เพื่อตรวจสอบความใหม่เช่นเดียวกัน
สำหรับเจ้าของสิทธิบัตรที่ประสงค์ขอรับความคุ้มครองสิทธิบัตรภายใต้กฎหมายของประเทศไทยนั้น ต้องมีการตรวจสอบให้แน่ชัดว่าข้อมูลสิทธิบัตรถูกเก็บไว้เป็นความลับอย่างมิดชิดก่อนวันที่ขอจดทะเบียน เว้นแต่ได้มีการทำสัญญาไม่เปิดเผยข้อมูลระหว่างบุคคลตามความเหมาะสมแล้ว เช่นนั้นอาจสามารถเปิดเผยการประดิษฐ์หรือการค้นพบใหม่อันอาจทำให้ผลงานที่จะยื่นขอจดทะเบียนตกเป็น “ศิลปะหรือวิทยาการที่มีอยู่ในขณะนั้น (State of the Art)” ซึ่งอาจมีความเสี่ยงที่จะสามารถกระทบสิทธิของผู้ขอรับสิทธิบัตรและต่อความใหม่ของงานที่ขอรับสิทธิบัตร
สิทธิบัตรทั้ง 3 ประเภทจะต้องผ่านข้อกำหนดการประยุกต์ใช้ในทางอุตสาหกรรมซึ่งแตกต่างจากข้อกำหนดเรื่องความใหม่ โดยปกติการประดิษฐ์นั้นมักบรรลุข้อกำหนดด้านการประยุกต์ใช้ในทางอุตสาหกรรมได้โดยง่าย เนื่องจากผู้ตรวจสอบสิทธิบัตรไทยมีการตีความที่ค่อนข้างกว้างในแง่การประยุกต์ใช้ทางอุตสาหกรรม และการใช้การประดิษฐ์ในบริบททางการค้าย่อมเป็นเหตุผลที่เพียงพอต่อการอนุญาตแล้ว การประดิษฐ์ใดก็ตามจะถือว่าเป็นการประยุกต์ใช้ในทางอุตสาหกรรมต่อเมื่อมีการสร้างหรือใช้งานในอุตสาหกรรมประเภทใดก็ตาม รวมไปถึง งานหัตถกรรม เกษตรกรรม หรือการพาณิชย์ อย่างไรก็ตาม มีข้อสังเกตอยู่ว่า การประดิษฐ์ที่เป็นเพียงการประยุกต์ใช้ในทางวิชาการหรือทางทฤษฎี ที่ไม่มีการใช้งานทางอุตสาหกรรมหรือไม่ เพราะหากเป็นเช่นนั้นจะถือว่าไม่มีคุณสมบัติตามข้อกำหนดนี้
ขั้นการประดิษฐ์ที่สูงขึ้นอันไม่เป็นที่ประจักษ์โดยง่ายเป็นข้อกำหนดสำหรับสิทธิบัตรประเภทเดียวเท่านั้น แต่เป็นประเภท สิทธิบัตรที่สร้างกำไรสูงที่สุด อันได้แก่ สิทธิบัตรการประดิษฐ์ การประเมินว่าการประดิษฐ์เป็นไปตามข้อกำหนดนี้หรือไม่นั้นค่อนข้างยากและขึ้นอยู่กับแต่ละการประดิษฐ์และดุลยพินิจของผู้ตรวจสอบ กฎหมายประเทศไทยวางหลักไว้เพียงผิวเผินว่าการประดิษฐ์จะถือว่าเป็นการประดิษฐ์ขั้นสูง หาก “ไม่มีลักษณะพื้นฐานจนเกินไป หรือเป็นที่ประจักษ์ต่อผู้มีความเชี่ยวชาญในแขนงนั้น”
นอกจากนี้ คู่มือการตรวจสอบคำขอรับสิทธิบัตรและอนุสิทธิบัตรนั้นวางหลักไว้ด้วยว่า การประดิษฐ์ต้องสร้างประโยชน์หรือสร้างการพัฒนาผลลัพธ์ในการใช้งานให้ดียิ่งขึ้น อย่างน้อยตามลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้:
ภายในคู่มือยังระบุเพิ่มเติมไว้ด้วยว่า ให้ผู้ตรวจสอบสิทธิบัตรของไทยศึกษารายงานการสืบค้นที่ออกให้แก่คำขอรับสิทธิบัตรเดียวกันในประเทศอื่นประกอบด้วย ทั้งนี้ โดยส่วนมากคำขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์ที่ยื่นไว้ในประเทศไทย ผู้ขอมักยื่นขอรับสิทธิบัตรเดียวกันไว้ในประเทศอื่นเช่นเดียวกัน ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นประเทศสหรัฐอเมริกา ทวีปยุโรป ประเทศญี่ปุ่น หรือสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยปกติผู้ตรวจสอบสิทธิบัตรของไทยจะอ้างอิงตามรายงานการสืบค้นของต่างประเทศและการขอรับสิทธิบัตรที่เกี่ยวข้องในประเทศอื่นๆ เพื่อพิจารณาว่าคำขอรับสิทธิบัตรไทยเป็นไปตามข้อกำหนดขั้นการประดิษฐ์ที่สูงขึ้นหรือไม่ อย่างไรก็ตาม หากงานเดียวกันที่ขอรับสิทธิบัตรไว้ในต่างประเทศนั้นได้รับจดทะเบียนในต่างประเทศแล้วย่อมไม่ถือว่าเป็นการเปิดเผยความลับอันจะทำให้ขาดคุณสมบัติเกี่ยวกับความใหม่
การประดิษฐ์ดังต่อไปนี้ไม่มีคุณสมบัติอันจะสามารถรับความคุ้มครองสิทธิบัตรในประเทศไทยได้:
การยื่นขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์ในประเทศไทยนั้นสามารถดำเนินการยื่นผ่าน 2 ระบบการยื่นขอจดทะเบียนหลัก ดังต่อไปนี้
โดยในที่นี้ ไม่ว่าคำขอรับสิทธิบัตรจะยื่นตามระบบในประเทศหรือระหว่างประเทศ คำขอรับสิทธิบัตรจำเป็นต้องมีคำบรรยายโดยละเอียดของการประดิษฐ์ เพื่อให้ผู้เชี่ยวชาญในแขนงนั้นสามารถเข้าใจและประดิษฐ์ได้ และจำต้องประกอบด้วยคำบรรยายในส่วนการประดิษฐ์ที่ดีที่สุดของงาน อย่างไรก็ตาม การขอรับสิทธิบัตรในต่างประเทศอาจไม่ได้กำหนดไว้ให้มีการบรรยายโดยละเอียดเช่นนี้
นอกจากนี้ คำขอรับสิทธิบัตรต้องประกอบด้วยบทสรุปการประดิษฐ์ ชื่อการประดิษฐ์ และรูปเขียนเพื่อประกอบรายละเอียดการประดิษฐ์นั้น ๆ (ถ้ามี) และข้อถือสิทธิ
ข้อถือสิทธิจะต้องชัดเจนและกระชับเพื่อระบุสิทธิแต่เพียงผู้เดียวของผู้ทรงสิทธิบัตรที่มีต่อการประดิษฐ์นั้น ๆ
เนื่องจากข้อมูลทั้งหมดในคำขอรับสิทธิบัตรต้องระบุเป็นภาษาไทยและยื่นไว้ต่อกรมทรัพย์สินทางปัญญา ด้วยเหตุนี้ คุณภาพของคำแปลจากภาษาอื่น ๆ เป็นภาษาไทยในคำขอรับสิทธิบัตรจึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง แผนผังด้านล่างเป็นแผนผังแสดงภาพรวมโดยย่อของขั้นตอนการจดทะเบียนสิทธิบัตรในประเทศไทย
สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์นั้นได้รับความนิยมมากในประเทศไทย ทั้งในกลุ่มผู้ขอรับสิทธิบัตรชาวไทยและชาวต่างชาติ ทั้งนี้ จุดประสงค์ของสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์นั้นมีไว้เพื่อคุ้มครองลักษณะด้านการตกแต่งหรือความสวยงามของรูปลักษณ์ รวมถึงรูปทรง โครงสร้าง หรือลวดลายต่าง ๆ
กฎหมายสิทธิบัตรไทยได้กำหนดไว้ว่า ผู้ขอต้องยื่นคำขอรับสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์สำหรับงานออกแบบเดียวต่อคำขอดังนั้นเจ้าของทรัพย์สินทางปัญญาที่ประสงค์ขอรับความคุ้มครองสำหรับส่วนการออกแบบมากกว่าหนึ่งองค์ประกอบ เช่น ลวดลายเพิ่มเติม หรือลวดลายเสริมที่ใช้แทนลวดลายเดิม จำต้องยื่นคำขอรับสิทธิบัตรแยกสำหรับองค์ประกอบเสริมหรืองานออกแบบมากกว่าหนึ่งงานที่ต้องการขอรับความคุ้มครอง
คำขอรับสิทธิบัตรการออกแบบต้องประกอบด้วยรูปภาพที่อธิบายงานออกแบบในหลากหลายมุมมอง อันได้แก่ มุมมองสองมิติและมุมมองสามมิติ เช่น มุมมองจากด้านหน้า ด้านหลัง ด้านขวา ด้านซ้าย ด้านล่าง ด้านบน และจากมุมที่แสดงให้เห็นถึงระยะภาพโดยรวม (perspective view) โดยสามารถยื่นภาพวาดหรือรูปภาพประกอบคำขอเพื่อแสดงมุมมองงานออกแบบดังกล่าว
การออกแบบรองเท้ายี่ห้อ Crocs ® ซึ่งนำไปใช้กับเคสโทรศัพท์มือถือและผลิตเป็นสินค้าที่ใช้ได้จริง
แผนผังด้านล่างแสดงภาพรวมโดยย่อของขั้นตอนการจดทะเบียนสิทธิบัตรออกแบบในประเทศไทย
ขั้นตอนการขอรับจดทะเบียนสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ (โดยย่อ)