อนันต์ดา อินเทลเลคชวล พร็อพเพอร์ตี้ ให้ความช่วยเหลือลูกความในประเทศไทยและทุกประเทศทั่วโลกเพื่อคุ้มครอง จัดการ และบังคับสิทธิในการใช้ชื่อโดเมน (Domain name) ของลูกความ
นอกจากนี้ อนันต์ดา อินเทลเลคชวล พร็อพเพอร์ตี้ มีบริการตรวจสอบชื่อโดเมน อันได้แก่ การตรวจสอบความเสี่ยง วางกลยุทธ์ชื่อโดเมน บริการตรวจสอบการละเมิดชื่อโดเมน บริการระงับข้อพิพาทสากล (Uniform Domain-Name Dispute Resolution Policy (UDRP)) เกี่ยวกับชื่อโดเมน การฟ้องร้อง/ดำเนินคดีเกี่ยวกับชื่อโดเมน และบริการนายหน้าชื่อโดเมน (การซื้อขายชื่อโดเมนและการโอนสิทธิในชื่อโดเมน) โดยเมื่อไม่นานมานี้ อนันต์ดา อินเทลเลคชวล พร็อพเพอร์ตี้ ได้พัฒนาบริการเฉพาะทางเกี่ยวกับการให้ความคุ้มครองในช่องทางออนไลน์ และการบังคับใช้สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา รวมถึง ดูแลความคุ้มครองเครื่องหมายการค้า และชื่อทางการค้าบนสื่อสังคมออนไลน์เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกความของเรามากขึ้น
ดังต่อไปนี้เป็นการตอบคำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับเกี่ยวกับการคุ้มครองชื่อโดเมนในประเทศไทย กล่าวคือ จะสามารถจดทะเบียนชื่อโดเมนในประเทศไทยได้อย่างไร สำหรับข้อมูลเกี่ยวกับการคุ้มครองชื่อโดเมนในประเทศอื่น ๆ กรุณา ติดต่อเรา
ในยุคที่อินเตอร์เน็ตครอบคลุมทั่วโลก ชื่อโดเมนกลายเป็นเครื่องมือหลักทางการตลาด และหนทางในการพัฒนาธุรกิจสำหรับทุกองค์กร ชื่อโดเมนเชื่อมต่อผู้ใช้อินเทอร์เน็ตกับเว็บไซต์ขององค์กร ซึ่งช่วยให้ลูกค้าและคู่ค้าสามารถเรียนรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์และบริการขององค์กรได้
ข้อมูลเบื้องต้นที่เป็นประโยชน์เกี่ยวกับชื่อโดเมนภาษาไทย
• ชื่อโดเมนภาษาไทยที่ได้รับจดทะเบียนแล้วจะช่วยให้ธุรกิจของท่านเติบโตในท้องถิ่นได้
• ชื่อโดเมนภาษาไทยที่ได้รับจดทะเบียนแล้วสามารถป้องกันไม่ให้บุคคลอื่นใช้ชื่อกิจการของท่าน และ/หรือ ชื่อผลิตภัณฑ์/บริการของท่าน เป็นชื่อเว็บไซต์ของบุคคลดังกล่าวได้
เคล็ดลับในการคุ้มครองสิทธิชื่อโดเมน
• ตรวจสอบว่าชื่อโดเมนนั้นมีผู้อื่นใช้ไปแล้วหรือยัง หรือมีลักษณะอันจดทะเบียนได้หรือไม่ (เช่น .com .asia ฯลฯ) ก่อนที่จะเริ่มดำเนินการจองชื่อโดเมน .co.th.
• คัดเลือกชื่อโดเมนซึ่งประกอบด้วยชื่อบริษัท และ/หรือ ชื่อเครื่องหมายการค้า/บริการของท่าน
• ตรวจสอบเพื่อค้นหาชื่อโดเมนที่คล้ายกัน และคุ้มครองชื่อโดเมนของท่านหากเกิดความสับสนหลงผิดระหว่างชื่อโดเมน หรือ กรณีการใช้เครื่องหมายการค้าของผู้อื่นเป็นชื่อโดเมนโดยไม่ได้รับอนุญาต (cybersquatting) ฯลฯ
• ตรวจสอบให้แน่ใจว่าได้มีการยื่นขอจดทะเบียนชื่อธุรกิจของท่านบนเครือข่ายสังคมออนไลน์เช่นเดียวกัน (Facebook ® Twitter ® LinkedIn ® ฯลฯ)
การเลือกชื่อโดเมนที่เหมาะสมที่สามารถสื่อถึงตัวตนขององค์กรอย่างสมบูรณ์นั้น สามารถช่วยให้องค์กรสามารถนำเสนอตนเองสู่โลกออนไลน์ได้สำเร็จ ด้วยเหตุนี้การเลือกชื่อโดเมน และการขอรับความคุ้มครองชื่อโดเมนทางธุรกิจจึงมีผลเป็นอย่างมากต่อความสำเร็จของธุรกิจทั้งทางออนไลน์และทางออฟไลน์
การเลือกชื่อโดเมนนั้นนับเป็นกลยุทธ์ทางธุรกิจอย่างหนึ่ง โดยสรุปแล้ว กลยุทธ์การตั้งชื่อโดเมนที่ดีย่อมต้องมีลักษณะดังนี้ (ก) ควรเลือกชื่อที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ (ข) สำรวจว่าการจดทะเบียนชื่อโดเมนนั้นจะสามารถคุ้มครองบริษัทและทรัพย์สินทางปัญญาของบริษัทได้อย่างไรบ้าง (ค) พิจารณาว่าจะสามารถจัดระเบียบการเข้าถึงเว็บไซต์ทางออนไลน์ได้อย่างไร และ (ง) คำนึงถึงชื่อโดเมนและชื่อเว็บไซต์โดยพิจารณาจากมุมมองของลูกค้าที่จะใช้บริการ
การเลือกชื่อโดเมนควรมีการพิจารณาควบคู่ไปกับกลยุทธ์ในการคุ้มครองสิทธิของบริษัท ภาพลักษณ์ต่อสาธารณะ และผลประโยชน์ของบริษัท หากบริษัทเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ เครื่องหมายการค้า หรือเครื่องหมายจดทะเบียนใดอื่นที่มีมูลค่าทางการค้า ชื่อโดเมนควรแสดงถึงแก่นแท้อันเป็นเอกลักษณ์ทางธุรกิจ และอ้างอิงถึงสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาดังกล่าว นอกจากนี้การเลือกชื่อโดเมนควรเป็นแนวคิดในการนำชื่อโดเมน หรือการนำเสนอตัวตนทางออนไลน์ของบริษัทมาผสมผสานเพื่อให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน
ในบางสถานการณ์ เจ้าของสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาอาจละเลย มิได้มีการตรวจสอบว่าชื่อโดเมนนั้นมีผู้ใช้ไปแล้วหรือไม่ และอาจไม่ได้มีการจองสิทธิในการใช้ชื่อโดเมนดังกล่าวโดยการยื่นขอจดทะเบียนชื่อของบริษัทหรือชื่อของเครื่องหมายการค้าไว้ รวมไปถึงเอกลักษณะประจำตัวบนเครือข่ายสังคมออนไลน์ที่ไม่ควรมองข้าม เช่น Facebook ® Twitter ® LinkedIn ® ฯลฯ ซึ่งมีบทบาทในการเติบโตทางธุรกิจของบริษัทเป็นอย่างมาก
ระบบการให้บริการชื่อโดเมนอันดับต้นสำหรับหมวดรหัสประเทศ (ccTLD) ในประเทศไทย คือ“ .th” ระบบการให้บริการ ccTLD เป็นที่นิยมอย่างยิ่งในกลุ่มบริษัทข้ามชาติที่มีสำนักงานในประเทศไทย และบริษัทต่างชาติที่ต้องการนำเสนอตนเองและให้ความเชื่อมั่นแก่ผู้บริโภคและคู่ค้าในประเทศไทย
ระบบการให้บริการชื่อโดเมนที่มีอันดับรองลงมานั้นลงท้ายด้วย “.th” เช่นเดียวกัน โดยระบบการให้บริการ ccTLD มีการจำแนกความแตกต่างของโดเมนตามประเภทขององค์กรที่ตั้งอยู่ในประเทศไทย โดยประเภทต่าง ๆ ของโดเมนอันดับรองที่ใช้กับระบบการให้บริการ ccTLD ลงท้ายด้วย “.th” ในประเทศไทยมีดังต่อไปนี้
ชื่อโดเมนที่สามารถจดทะเบียนได้ในประเทศไทยต้องเป็นชื่อที่ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน ไม่ขัดต่อศีลธรรมอันดี และไม่ขัดต่อกฎหมาย
การจดทะเบียนและดูแลรักษาชื่อโดเมนอันดับต้นๆ ซึ่งลงท้ายด้วย “.th” ในประเทศไทยทั้งหมด ดำเนินการโดยบริษัท “ THNIC” (www.thnic.co.th)
หากเป็นชื่อโดเมน .co.th การจดทะเบียนชื่อโดเมนดังกล่าวมีสองวิธี ดังนี้
ข้อกำหนดและข้อจำกัดในการจดทะเบียนชื่อโดเมน “.co.th” ซึ่งมีที่มาจากชื่อบริษัทมีดังนี้
ข้อกำหนดและข้อจำกัดในการยื่นขอจดทะเบียนชื่อโดเมน “.co.th” ซึ่งมีที่มาจากเครื่องหมายการค้าหรือเครื่องหมายบริการมีดังนี้
อนันต์ดา อินเทลเลคชวล พร็อพเพอร์ตี้ ช่วยเหลือลูกความในประเทศไทยและทุกประเทศทั่วโลกเพื่อยื่นขอจดทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ เครื่องหมายรับรอง และเครื่องหมายร่วม
ดังต่อไปนี้เป็นคำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับความคุ้มครองของสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ในประเทศไทย พระราชบัญญัติด้านการคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ในประเทศไทยฉบับเต็มสามารถดูได้ ที่นี่ สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ กรุณา ติดต่อเรา
สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์เป็นสิ่งบ่งชี้ที่ระบุว่าสินค้านั้นมีต้นกำเนิดมาจากสถานที่ใด โดยสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์จะมีลักษณะเฉพาะซึ่งเกี่ยวข้องกับอาณาเขตหรือสถานที่ต้นกำเนิดนั้น ผลิตภัณฑ์ที่มีสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Geographical Indication – GI) มีลักษณะเฉพาะซึ่งเชื่อมโยงอย่างใกล้ชิดกับแหล่งกำเนิดและถูกขนานนามว่ามีคุณภาพระดับสูง อาทิ สินค้าประเภท “สปาร์คกลิงไวน์ (Sparkling Wine)” จะถูกเรียกขานได้ว่า “แชมเปญ” ต่อเมื่อสินค้านั้นมีแหล่งกำเนิดอยู่ที่ภูมิภาคช็องปาญ (Champagne) ประเทศฝรั่งเศสเท่านั้น มิเช่นนั้นอาจถูกเรียกขานว่าเป็นเพียงสปาร์คกลิงไวน์ทั่วไป
ประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศผู้บุกเบิกในทวีปเอเชียด้านการคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์เช่นกัน โดยกฎหมายไทยได้ยอมรับความคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ทั้งในท้องถิ่น (เช่น มะขามหวานเพชรบูรณ์) และสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์จากต่างประเทศ (เช่น บรั่นดีปิสโค แชมเปญ เป็นต้น) นอกจากนี้กรมทรัพย์สินทางปัญญาและกรมส่งเสริมการส่งออกเอื้ออำนวยให้มีการระบุความคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ของไทยทั้งในและต่างประเทศอยู่เสมอ
เพื่อให้ได้รับจดทะเบียนในประเทศไทย สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ต้องไม่มีลักษณะดังต่อไปนี้
ประการสำคัญเกี่ยวกับสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ของต่างประเทศในประเทศไทยคือ ผู้ยื่นขอรับความคุ้มครองต้องแสดงหลักฐานที่ชัดเจนว่าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ดังกล่าวได้รับการคุ้มครองในประเทศแหล่งกำเนิด และมีการใช้อย่างต่อเนื่องตลอดมาจนกระทั่งวันที่ยื่นขอรับความคุ้มครองในประเทศไทย
การขอรับความคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ต่อกรมทรัพย์สินทางปัญญาจะต้องผ่านเกณฑ์การพิจารณาดังต่อไปนี้เพื่อให้สามารถรับจดทะเบียนได้ในประเทศไทย
ผู้ที่ยื่นขอจดทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ได้มีเพียงรัฐ บุคคลธรรมดา คณะบุคคล หรือกลุ่มผู้บริโภคเท่านั้น โดยเมื่อยื่นแล้วไม่จำต้องยื่นคำขอต่ออายุสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ที่จดทะเบียนแล้ว
ขั้นตอนการขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ในประเทศไทยมีดังต่อไปนี้
สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ที่จดทะเบียนแล้วเป็นสิทธิที่ชอบธรรมตามกฎหมาย ซึ่งอำนวยประโยชน์ต่อกลุ่มบริษัท ภูมิภาคหรือรัฐเป็นอย่างมาก
สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ที่จดทะเบียนแล้วก่อให้เกิดสิทธิแก่เจ้าของแต่เพียงผู้เดียว และให้สามารถบรรเทาความเสียหายจากการบังคับใช้สิทธิในสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์กรณีที่พบว่ามีการใช้สิทธิดังกล่าวโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย
การใช้สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ที่มีลักษณะขัดต่อกฎหมาย ได้แก่
เจ้าของสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์สามารถหวงห้ามไม่ให้มีการใช้สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ภายใต้สิทธิของตนเป็นเครื่องหมายการค้า แม้กระทั่งการใช้กับผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีความเกี่ยวข้อง (เช่น ใช้คำว่าแชมเปญกับสินค้าประเภทน้ำหอม) นอกจากนี้ การใช้สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ที่แท้จริงของสินค้านั้น รวมถึงการใช้ร่วมกับ เช่น “ชนิด” “ประเภท” “ลักษณะ/สไตล์” หรือสิ่งอื่นที่คล้ายกันที่ปรากฏแก่สินค้า ตัวอย่างเช่น สปาร์คกลิงไวน์ที่ไม่ได้มาจากภูมิภาคแชมเปญ (ช็องปาญ) จะไม่สามารถจำหน่ายได้ตามกฎหมายในประเทศไทยหากปรากฏคำว่า “เป็นแชมเปญประเภทหนึ่ง” หรือ “เป็นแชมเปญแบบหนึ่ง” โดยผู้ที่ละเมิดสิทธิในสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์อาจต้องโทษปรับถึง 200,000 บาท (6,600 เหรียญสหรัฐ)
โปรดพิจารณารายการสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ที่ได้รับการจดทะเบียนในประเทศไทยได้ ที่นี่
(หมายเหตุ: โปรดตรวจสอบรายการอย่างสม่ำเสมอ เนื่องจากข้อมูลอาจไม่ได้มีการปรับปรุงให้ทันสมัยอยู่เป็นประจำ)
ดังต่อไปนี้เป็นคำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการคุ้มครองความลับทางการค้าในประเทศไทย
อนันต์ดา อินเทลเลคชวล พร็อพเพอร์ตี้ มีความเชี่ยวชาญในการให้คำปรึกษาแก่ลูกความเกี่ยวกับการคุ้มครองความลับทางการค้าในประเทศไทย รวมถึงประเทศในประชาคมอาเซียนและสาธารณรัฐประชาชนจีน (สัญญาไม่เปิดเผยข้อมูล สัญญาการรักษาความลับ สัญญาการจ้างงาน การโอนเทคโนโลยี สัญญาร่วมทุน สัญญาการวิจัยและพัฒนา เป็นต้น) โดยท่านสามารถจดแจ้งความลับทางการค้าในประเทศไทยเช่นเดียวกัน
คำแปลเป็นภาษาอังกฤษของพระราชบัญญัติความลับทางการค้าในประเทศไทยสามารถดูได้ ที่นี่
ในปัจจุบัน ความลับทางการค้ามีความสำคัญมากขึ้นต่ออุตสาหกรรมหลากหลายประเภท โดยทั่วไปองค์กรมักใช้ประโยชน์จากความลับทางการค้าเพื่อให้แน่ใจได้ว่าสามารถได้เปรียบเหนือคู่แข่งในอุตสาหกรรมหรือสายอาชีพเดียวกัน
ในบางประเทศ มีการเรียกขานความลับทางการค้าว่า “ข้อมูลอันเป็นความลับ” ในขณะที่บางประเทศถือว่าข้อมูลอันเป็นความลับนั้นเป็นเพียงส่วนย่อยของความลับทางการค้า ตัวอย่างความลับทางการค้า เช่น สูตรการผลิตสินค้าประเภทเครื่องดื่ม Coca Cola ซึ่งได้รับการคุ้มครองเป็นความลับมานานหลายทศวรรษและไม่เคยเปิดเผยที่ใดมาก่อน
ความลับทางการค้าในประเทศไทยได้รับความคุ้มครองภายใต้พระราชบัญญัติความลับทางการค้า (พ.ศ. 2545) ซึ่งปกป้องข้อมูลที่เป็นความลับจากการใช้โดยมิชอบ เช่น สูตร โปรแกรม วิธีปฏิบัติ ขั้นตอน การออกแบบ เครื่องมือ รูปแบบ หรือการรวบรวมข้อมูล
แม้การคุ้มครองความลับทางการค้าในประเทศไทยไม่จำเป็นต้องมีขึ้นทะเบียน ทว่าความลับทางการค้านั้นจำต้องมีคุณสมบัติตามเงื่อนไขหลายประการจึงจะสามารถได้รับความคุ้มครองทางกฎหมายในประเทศไทยได้
ความลับทางการค้าที่สามารถได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายในประเทศไทยนั้นจำต้องมีคุณสมบัติสามประการดังต่อไปนี้
ดังที่กล่าวมาจึงนับว่ามีเหตุจำเป็นที่เจ้าของความลับทางการค้านั้นต้องใช้มาตรการที่เหมาะสมเพื่อรักษาความลับ มาตรการที่เหมาะสมเหล่านี้รวมถึง ข้อกำหนดการไม่เปิดเผยข้อมูล และข้อกำหนดว่าจะไม่ใช้ อันระบุไว้ในสัญญาใดๆ ซึ่งควบคุมการใช้ความลับทางการค้า สัญญาที่มีลักษณะดังกล่าว ได้แก่ สัญญาการรักษาความลับ สัญญาการไม่เปิดเผยข้อมูล สัญญาจ้างงาน สัญญาการผลิต ฯลฯ ข้อกำหนดการรักษาความลับต้องมีการระบุข้อมูลอันเป็นความลับอย่างละเอียดและแม่นยำ ข้อกำหนดที่คลุมเครือหรือมีความหมายกว้างเกินไปอาจไม่สามารถบังคับใช้ได้
นอกจากนี้ท่านควรวางมาตรการคุ้มครองข้อมูลอย่างเหมาะสม (การกำหนดพื้นที่ห้ามเข้า ระเบียนแบบปิดสำหรับข้อมูลเฉพาะประเภท การเข้าถึงผ่านคอมพิวเตอร์ ตู้นิรภัย ฯลฯ) กรณีที่มีการกระทำละเมิดต่อการรักษาความลับ เจ้าของความลับทางการค้าจำต้องพิสูจน์ว่าข้อมูลนั้นเป็นความลับ และมีการเก็บรักษาไว้อย่างมิดชิด และแสดงให้เห็นว่าการเปิดเผยเช่นนั้นเป็นการเปิดเผยที่ไม่ได้รับอนุญาต หรือเป็นการเปิดเผยโดยมิชอบ
เมื่อมีความเสี่ยงสูงที่การรักษาความลับนั้นจะถูกละเมิด หรือข้อมูลที่เป็นความลับ (เช่นสูตรหรือกระบวนการ) นั้นสามารถผันกลับทางวิศวกรรมได้ เจ้าของความลับทางการค้าควรพิจารณายื่นขอรับสิทธิบัตรเพื่อคุ้มครองสิทธิแต่เพียงผู้เดียวของตน อย่างไรก็ตาม การยื่นขอรับสิทธิบัตรนั้นจำต้องมีการเปิดเผยความลับ และมีความคุ้มครองที่จำกัดเป็นระยะเวลาเพียง 20 ปี
ด้วยเหตุนี้ เจ้าของความลับทางการค้าจึงควรพิจารณาทางเลือกในการคุ้มครองสิทธิของตนอย่างระมัดระวังก่อนตัดสินใจใช้กลยุทธ์ที่เหมาะสมในการดำเนินการเพื่อคุ้มครองความลับทางการค้า
เจ้าของความลับทางการค้าเป็นเจ้าของสิทธิแต่เพียงผู้เดียวในการเปิดเผย หวงห้าม หรือใช้ความลับทางการค้า หรืออนุญาตให้บุคคลอื่นเปิดเผย หวงห้าม หรือใช้ความลับทางการค้านั้น เจ้าของความลับทางการค้ายังสามารถกำหนดเงื่อนไขโดยเฉพาะสำหรับการรักษาความลับได้
การเปิดเผย หวงห้าม หรือใช้ความลับทางการค้าโดยปราศจากความยินยอมของเจ้าของความลับทางการค้าในลักษณะที่ขัดต่อแนวทางการประกอบธุรกิจในทางปกติโดยสุจริต ถือว่าเป็นการละเมิดตามกฎหมาย
หากปรากฏหลักฐานโดยชัดแจ้งว่า มีผู้ใดละเมิดหรือจะกระทําอย่างใดอย่างหนึ่งอันเป็นการละเมิดสิทธิในความลับทางการค้า ผู้ที่มีส่วนได้เสียหรือผู้ครอบครองความลับทางการค้าซึ่งอาจเสี่ยงต่อการถูกละเมิดสิทธิสามารถดำเนินการดังต่อไปนี้
นอกจากการเยียวยาความเสียหายทางแพ่งแล้ว ผู้มีส่วนได้เสียสามารถฟ้องร้องทางอาญาเพื่อขอให้ลงโทษตามพระราชบัญญัติความลับทางการค้า ซึ่งกำหนดบทลงโทษจำคุกสูงสุดถึง 1 ปี และ/หรือปรับไม่เกิน 200,000 บาท (6,600 เหรียญสหรัฐ) ในกรณีที่มีการลงนามในสัญญารักษาความลับระหว่างผู้เปิดเผยและเจ้าของความลับไว้ด้วย ย่อมสามารถอ้างสัญญาดังกล่าวในการบังคับสิทธิได้เช่นเดียวกัน
ตัวอย่างของการละเมิดความลับทางการค้าในประเทศไทยมักเป็นกรณีที่พนักงานบริษัทมีการเปิดเผยข้อมูลให้แก่คู่แข่ง หรืออดีตพนักงานได้มีการเปิดเผยข้อมูลภายหลังจากที่ลาออกจากบริษัท ดังนั้น การระบุข้อกำหนดเกี่ยวกับการรักษาความลับในสัญญาว่าจ้าง จึงต้องมีการระบุไว้อย่างเฉพาะเจาะจงเพื่อให้เหมาะสมกับลักษณะงาน (โดยเฉพาะในกรณีที่พนักงานสามารถเข้าถึงข้อมูลที่เป็นความลับได้)
ข้อมูลเบื้องต้น