ทีมงานฟ้องร้อง/ดำเนินคดีของอนันต์ดา อินเทลเลคชวล พร็อพเพอร์ตี้ มีหน้าที่ในการปรากฏตัวหรือยื่นคำร้องต่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ และศาลฎีกา ในนามของลูกความเพื่อฟ้องคดีเกี่ยวกับการละเมิดเครื่องหมายการค้า ลิขสิทธิ์ และสิทธิบัตร รวมถึงการฟ้องคดีต่อกรมทรัพย์สินทางปัญญา (เพื่อการอุทธรณ์คำสั่งเกี่ยวกับการรับจดทะเบียนเพื่อปกป้องสิทธิของลูกความของเรา)
ท่านสามารถดูเพิ่มเติมถึงรายละเอียดเกี่ยวกับคดีที่รับผิดชอบโดยสำนักงานของเราได้ที่หน้าเกี่ยวกับคดีของเรา และหน้าข่าวของเรา
ในส่วนนี้ทางเราจะอธิบายถึงภาพรวมเกี่ยวกับค่าเสียหายและสิ่งที่น่าสนใจโดยย่อเกี่ยวกับการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา (การดำเนินคดีอาญา การดำเนินคดีแพ่ง มาตรการ ณ จุดผ่านแดน การบรรเทาการละเมิดทางออนไลน์) รวมถึงมาตรการป้องกันและคำแนะนำเชิงกลยุทธ์ต่างๆ สำหรับผู้ถือสิทธิทางทรัพย์สินทางปัญญา หากท่านประสงค์จะได้รับรายละเอียดเพิ่มเติม กรุณาติดต่อเรา
ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับการฟ้องร้อง/ดำเนินคดีทางทรัพย์สินทางปัญญาในประเทศไทย
ปัจจุบันสินค้าที่ปลอมเครื่องหมายการค้าเป็นปัจจัยอันท้าทายของเจ้าของสิทธิทางทรัพย์สินทางปัญญาในประเทศไทย
สินค้าปลอมนั้นพบเห็นได้อย่างแพร่หลาย ไม่ว่าจะเป็นเครื่องแต่งกาย ซีดี ดีวีดี ซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ นาฬิกา โทรศัพท์มือถือ เครื่องใช้ไฟฟ้า อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ อะไหล่เสริม เครื่องสำอาง เภสัชภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์อาหาร และสินค้าอุปโภคบริโภคอื่น ๆ ไม่ว่าจะผลิตในประเทศไทยหรือนำเข้าจากต่างประเทศ ซึ่งเพิ่มขึ้นอย่างมากในประเทศจีนและประเทศเพื่อนบ้าน
เจ้าของสิทธิในทางทรัพย์สินทางปัญญามักให้ความเห็นว่า ตัวบทกฎหมายและบทลงโทษในประเทศไทยนั้นค่อนข้างหละหลวม ซึ่งอาจไม่ได้มีความหมายรวมถึงการพัฒนาเชิงบวกที่พึ่งเกิดขึ้นเมื่อไม่นานมานี้ อาทิ การก่อตั้งศาลชำนัญพิเศษในปี พ.ศ. 2540 กล่าวคือ ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง (CIPITC) หรือการบังคับใช้เอกสารความตกลงร่วมมือระหว่างหน่วยงานบังคับใช้และเจ้าของสิทธิทางทรัพย์สินทางปัญญา
การดำเนินคดีอาญา
การฟ้องร้องคดีอาญาเป็นวิธีที่เจ้าของสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาในประเทศไทยนิยมใช้มากที่สุด โดยเฉพาะเจ้าของเครื่องหมายการค้าและลิขสิทธิ์ ตัวอย่างเช่น จากสถิติในปีพ.ศ. 2554 เพียงปีเดียว มีอัตราการฟ้องคดีอาญาสำหรับกรณีละเมิดเครื่องหมายการค้าต่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกว่า 4,000 คดี
แนวทางปฏิบัติที่นิยมใช้กันในคดีการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาคือการดำเนินคดีทางอาญา รวมถึงการตรวจค้นโดยเจ้าหน้าที่ตำรวจ ก่อนจะได้มีการดำเนินคดีขึ้นสู่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศต่อไป โดยการดำเนินการดังกล่าวนั้นเริ่มจากการที่เจ้าของสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา (หรือตัวแทน) ได้ร้องทุกข์ต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจผู้มีอำนาจ
หน่วยงานบังคับคดีในประเทศไทยมีหน่วยงานใดบ้าง?
หน่วยบังคับคดีหลายแห่งในประเทศไทย ได้แก่:
ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับการบังคับใช้สิทธิตามกฎหมายอาญา
|
ข้อเสียของการดำเนินคดีทางอาญา | ||||
|
|
การละเมิดเครื่องหมายการค้าพบเห็นได้เป็นปกติในประเทศไทย และไม่จำกัดแต่เฉพาะประเภทอุตสาหกรรมใดอุตสาหกรรมหนึ่ง โดยแบรนด์เภสัชภัณฑ์ เคมีภัณฑ์ เครื่องสำอาง อาหาร ไฟฟ้า และสินค้าหรูหรา เครื่องจักร อะไหล่ ของเล่น เฟอร์นิเจอร์ หรือแม้แต่การบริการ (สถานบริการ การขนส่ง การเดินทาง บริการทางการเงิน การประกัน ฯลฯ) ล้วนเป็นบริการที่ถูกลอกเลียนแบบทั้งสิ้น การละเมิดเครื่องหมายทางการค้าสร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจต่อเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่ถูกต้องตามกฎหมาย กระทบชื่อเสียงของแบรนด์ และส่งผลให้เกิดความเสี่ยงต่อสุขภาพผู้ใช้ เพราะสินค้าที่ลอกเลียนแบบมักมีการผลิตโดยปราศจากมาตรฐานความปลอดภัย
การบังคับสิทธิในทางอาญาว่าด้วยการละเมิดเครื่องหมายการค้าและการเยียวยาความเสียหาย
การจดทะเบียนแบรนด์ของเจ้าของเครื่องหมายการค้า และการคงสถานะของเครื่องหมายการค้าเพื่อให้แบรนด์คงอยู่ต่อไปนั้นเป็นสิ่งสำคัญ ทางเราจึงแนะนำเป็นอย่างยิ่งให้มีการวางกลยุทธ์ด้านการคุ้มครองเครื่องหมายการค้าก่อนการริเริ่มแบรนด์ใหม่ และก่อนการนำธุรกิจเข้าสู่ตลาดประเทศไทย ดังกล่าวเป็นสิ่งที่สำคัญต่อการตัดสินใจเนื่องจากการยื่นจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในประเทศไทยนั้นใช้เวลาประมาณ 1 ปี ดังนั้น การจดทะเบียนแบรนด์ รวมถึงการคะเนสถานการณ์อันเกี่ยวกับการละเมิดและการประเมินค่าใช้จ่ายล่วงหน้าเกี่ยวกับการบังคับใช้สิทธิตามกฎหมาย และ/หรือการคำนวณการขาดทุนจากการจำหน่ายนั้นไม่เพียงพอต่อการรับมือกับปัญหาที่เกิดขึ้นจากสินค้าปลอม แต่อาจสามารถป้องกันความเสียหายร้ายแรงที่อาจเกิดขึ้นได้
การแยกความแตกต่างระหว่างทฤษฎีทางกฎหมาย และการบังคับใช้สิทธิในสถานการณ์จริงเป็นสิ่งสำคัญเช่นเดียวกัน ซึ่งตามกฎหมายนั้นได้บัญญัติไว้ให้ความคุ้มครองกับทั้งเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนและไม่ได้จดทะเบียนในประเทศไทย อย่างไรก็ตาม ไม่อาจตีความได้ว่าการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้นไม่จำเป็น ด้วยเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนนั้นมีความคุ้มครองที่กว้างกว่าเครื่องหมายการค้าที่ไม่ได้จดทะเบียนเพราะเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนนั้นได้รับความคุ้มครองจากหลายมาตราในพระราชบัญญัติเครืองหมายการค้า ในขณะที่เครื่องหมายการค้าที่ไม่ได้จดทะเบียนนั้นได้มีการกล่าวถึงไว้ในประมวลกฎหมายอาญา และประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เท่านั้น ผู้กระทำละเมิดของเครื่องหมายการค้าที่ได้จดทะเบียนไว้ในประเทศไทยนั้นต้องระวางโทษ จำคุกไม่เกิน 4 ปี และ/หรือปรับไม่เกิน 400,000 บาท ในขณะที่ผู้ละเมิดเครื่องหมายการค้าที่ไม่ได้รับจดทะเบียนนั้นต้องระวางโทษ จำคุกไม่เกิน 3 ปี และ/หรือปรับไม่เกิน 6,000 บาท
นอกจากนี้การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้น มีความเป็นไปได้ที่จะสามารถเพิ่มมาตรการในการป้องกันการปลอมเครื่องหมายการค้าจากผู้ละเมิดอีกด้วย ทั้งนี้ ใจความสำคัญของบทความนี้คือ การยื่นจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าย่อมเป็นสิ่งที่ควรกระทำก่อนที่จะมีการบังคับใช้สิทธิใดๆ ในทางกฎหมาย
การบังคับสิทธิในทางอาญาว่าด้วยการละเมิดสิทธิบัตรและการเยียวยาความเสียหาย
ประเภทของอุตสาหกรรมดังที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้นนั้น นอกจากประสบปัญหาในการละเมิดเครื่องหมายการค้าแล้ว ยังประสบปัญหาการละเมิดสิทธิบัตรในประเทศไทยเช่นเดียวกัน อย่างไรก็ตาม ข้อแตกต่างที่สำคัญระหว่างความคุ้มครองสิทธิบัตรและเครื่องหมายการค้าคือ การเจ้าของเครื่องหมายการค้าสามารถยื่นขอความคุ้มครองในเครื่องหมายการค้าเวลาใดก็ได้ ในขณะที่เจ้าของสิทธิบัตรสามารถยื่นขอรับความคุ้มครองสำหรับสิ่งประดิษฐ์ใหม่เท่านั้น และไม่มีการให้ความคุ้มครองกับสิทธิบัตรที่ไม่ได้จดทะเบียน
กล่าวอีกนัยหนึ่ง กรณีที่บริษัทไม่ได้ยื่นคำขอจดทะเบียนสิทธิบัตรในประเทศไทย และสิ่งประดิษฐ์นั้นได้ถูกเปิดเผยต่อสาธารณะแล้ว ย่อมไม่ได้รับความคุ้มครองหากมีการละเมิดสิทธิบัตรนั้นเกิดขึ้น แม้ว่าบริษัทส่วนใหญ่จะทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับกฎหมายสิทธิบัตรนี้เป็นอย่างดี แต่สำนักงานกฎหมายบางสำนักงานก็ได้พบเจอบ่อยครั้ง สำหรับสถานการณ์ที่ลูกความของตนได้มีการเผยแพร่การประดิษฐ์ของตนแล้ว (ผ่านทางการจำหน่ายสินค้า การจัดแสดงสินค้าในงานนิทรรศการระหว่างประเทศ ฯลฯ) ซึ่งได้เปิดเผยไปแล้วโดยที่ยังไม่ได้มีการยื่นจดทะเบียนสิทธิบัตรไว้ก่อน และย่อมสายเกินไปที่จะขยายความคุ้มครองดังกล่าวมาในประเทศไทย แม้แต่บริษัทข้ามชาติหลายบริษัทซึ่งมีความคุ้มครองสิทธิบัตรของตนอยู่ในทวีปยุโรปและอเมริกา แต่อาจทราบช้าเกินไปว่าตนไม่สามารถได้รับความคุ้มครองสิทธิบัตรในประเทศไทยได้อีกต่อไป
ในกรณีการละเมิดสิทธิบัตร เจ้าของสิทธิบัตรจดทะเบียนจะได้รับความคุ้มครองตามข้อกำหนดในพระราชบัญญัติสิทธิบัตร ซึ่งได้มีการบัญญัติถึงความผิดและโทษสำหรับการละเมิดสิทธิบัตรการประดิษฐ์ไว้แล้ว (จำคุกไม่เกิน 2 ปี และ/หรือปรับไม่เกิน 400,000 บาท) อนุสิทธิบัตร และสิทธิบัตรออกแบบ (จำคุกไม่เกิน 1 ปี และ/หรือปรับไม่เกิน 200,000 บาท) ประมวลกฎหมายอาญาว่าด้วยการละเมิดสิทธิบัตรนั้นพบเห็นได้ค่อนข้างยากในประเทศไทยอันเกิดจากหลายปัจจัย ปัจจัยแรกได้แก่ ระยะเวลาในการได้รับความคุ้มครองสิทธิบัตรในประเทศไทย ซึ่งอาจเป็นระยะเวลาเกินกว่า 10 ปีและมีผลกระทบโดยตรงต่อสิทธิของผู้ขอรับสิทธิบัตร ในทางตรงกันข้ามกับการพัฒนาของเทคโนโลยีที่รวดเร็วและล้ำสมัย รวมถึงผลิตภัณฑ์อุปโภคบริโภคที่มีอายุการใช้งานจำกัด ทำให้ผลิตภัณฑ์ที่มีการพัฒนามากว่า 10 ปีนั้นไม่ล้ำสมัยอีกต่อไป และอาจถูกแทนที่ด้วยผลิตภัณฑ์หรือวิธีการทางเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพและมีนวัตกรรมที่ล้ำสมัยมากกว่า ดังนั้น การฟ้องคดีแพ่งย่อมเหมาะสมกับการบังคับสิทธิในสิทธิบัตรมากกว่า ซึ่งตรงตามจุดประสงค์ของผู้ขอรับสิทธิบัตรซึ่งมุ่งประสงค์ต่อรายได้จากการอนุญาตให้ใช้สิทธิและรับค่าเสียหายจากการละเมิดสิ?ธิบัตร การเจรจาไกล่เกลี่ยนอกศาลนั้นพบเห็นได้บ่อยเนื่องจากคู่กรณีมักต้องการหลีกเลี่ยงการยุติข้อพิพาทในศาล
การบังคับสิทธิในทางอาญาของการละเมิดลิขสิทธิ์และการเยียวยาความเสียหาย
อุตสาหกรรมหลักอันมีลิขสิทธิ์นั้นมักจะเป็นงานที่เกี่ยวข้องกับการสร้างสรรค์ การผลิต การแพร่ภาพและเสียง การจำหน่ายจ่ายแจกซึ่งงานและกิจกรรมอันมีลิขสิทธิ์ อุตสาหกรรมดังกล่าว อาทิ งานพิมพ์และวรรณกรรม ดนตรี ภาพเคลื่อนไหวและวิดีโอ วิทยุและโทรทัศน์ ภาพถ่าย ซอฟต์แวร์และฐานข้อมูล ภาพพิมพ์และภาพกราฟิก บริการโฆษณา และ เครื่องมือทางสังคมอื่นๆ อันมีลิขสิทธิ์ อย่างไรก็ดี โดยผิวเผินแล้วทุกประเภทของอุตสาหกรรมอาจอ้างสิทธิสามารถขอรับความคุ้มครองลิขสิทธิ์ได้ เช่น งานวรรณกรรมอันปรากฏบนหน้าประกาศ บนแผ่นป้ายโฆษณา คอนเทนต์ของเว็บไซต์ ฐานข้อมูล ซอฟต์แวร์ รูปภาพ ภาพยนตร์ หนังสือ ฯลฯ
การละเมิดลิขสิทธิ์ในประเทศไทยเป็นปัญหาเรื้อรังมายาวนาน อันเป็นหนึ่งในเหตุผลหลักที่ประเทศไทยถูกจัดอยู่ในบัญชีที่ถูกจับตามองเป็นพิเศษของผู้แทนการค้าสหรัฐอเมริกา (Priority Watch List of the United States Trade Representative) การละเมิดลิขสิทธิ์ CD/DVD และซอฟท์แวร์ในประเทศไทยนั้นคำนวณได้เป็นความสูญเสียรวมกว่าร้อยล้านดอลล่าร์สหรัฐต่ออุตสาหกรรมลิขสิทธิ์ และแม้จะปรากฏสัญญาณที่ดีขึ้น รวมถึงการเรียกร้องจากอุตสาหกรรมลิขสิทธิ์ต่อการเปลี่ยนแปลงกฎหมาย และการบังคับใช้ทางกฎหมายที่เข้มงวดกว่าเดิมของเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติงาน การแก้ไขกฎหมายในพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ เช่น การแก้ไขเพื่อจัดการการละเมิดลิขสิทธิ์ทางออนไลน์ ความรับผิดของผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต การละเมิดสัญญาณเคเบิลและสัญญาณดาวเทียม ฯลฯ ซึ่งมีมติให้เพิ่มข้อกำหนดดังกล่าวแล้ว โดยในปัจจุบัน พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ได้กำหนดโทษของการละเมิดลิขสิทธิ์เพื่อวัตถุประสงค์ทางการค้า โดยให้มีโทษจำคุก 6 เดือน ถึง 4 ปี และ/หรือ ให้ชำระค่าปรับ 100,000 บาทจนถึง 800,000 บาท
อ้างถึงตารางดังต่อไปนี้แสดงบทลงโทษที่แตกต่างกันตามกฎหมายลิขสิทธิ์ไทย โดยจะเห็นได้ว่าไม่มีความรับผิดทางอาญาในกรณีที่การทำซ้ำ การดัดแปลง หรือการเผยแพร่งานลิขสิทธิ์ หากผู้ละเมิดไม่ได้มีเจตนาเชิงการพาณิชย์
ลักษณะของการละเมิดลิขสิทธิ์ | จุดประสงค์ | ค่าปรับอันเป็นตัวเงิน | ความรับผิดทางอาญา |
การทำซ้ำ การดัดแปลงหรือ
การเผยแพร่งานอันมีลิขสิทธิ์ต่อสาธารณชน |
ไม่ใช่เพื่อการค้า | 20,000-200,000 บาท | ไม่มี |
การทำซ้ำ การดัดแปลงหรือ
การเผยแพร่งานอันมีลิขสิทธิ์ต่อสาธารณชน |
เพื่อการค้า | 100,000-800,000 บาท | 6 เดือน ถึง 4 ปี |
การนำเข้า แจกจ่าย จำหน่าย หรือ เผยแพร่ต่อสาธารณชน | ไม่ใช่เพื่อการค้า | 1,000-10,000 บาท | ไม่มี |
การนำเข้า แจกจ่าย จำหน่าย หรือ เผยแพร่ต่อสาธารณชน | เพื่อการค้า | 50,000-400,000 บาท | 3 เดือน ถึง 2 ปี |
แม้ค่าปรับที่กำหนดไว้โดยกฎหมายดูเหมือนมีอัตราที่ค่อนข้างสูง อย่างไรก็ตาม ค่าปรับอัตราสุดท้ายซึ่งอนุญาตให้ชำระโดยศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ นั้นมักจะคำนวณในอัตราอย่างต่ำ และอาจไม่สามารถพิสูจน์ได้จนเห็นข้อเท็จจริงเพียงพอว่าเป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์ในทางการค้าจริง นอกจากนี้อัตราการตรวจพบและจับผู้สมรู้ร่วมคิดขององค์กรอาชญากรรมได้จริงนั้นมีจำนวนน้อยมาก ซึ่งแม้จะมีการฟ้องคดีละเมิดลิขสิทธิ์กว่า 3,000 คดีต่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศต่อปี แต่มีคดีเป็นจำนวนน้อยที่ให้มีการได้รับโทษตามสมควร
สัญญาณที่ดีที่พบเห็นได้คือ การจับคดีการละเมิดลิขสิทธิ์สินค้า (เช่น ดีวีดี) นั้นพบเห็นได้มากขึ้นและบ่อยขึ้นในประเทศไทย (โดยเฉพาะอย่างยิ่ง จากความมีประสิทธิภาพมากขึ้นของการกักสินค้าโดยศุลกากรไทย) นอกจากนี้ ยังมีการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือหลายฉบับโดยเจ้าหน้าที่ผู้บังคับใช้กฎหมายและมีการผนึกกำลังเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพองค์รวมของการบังคับใช้กฎหมายในประเทศไทย
การบังคับสิทธิในทางแพ่ง
นอกจากการเยียวยาความเสียหายทางอาญา เจ้าของสิทธิในทางทรัพย์สินทางปัญญาสามารถอ้างข้อกฎหมายของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งระบุว่า “(มาตรา 420) ผู้ใดจงใจหรือประมาทเลินเล่อ ทำต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมายให้เขาเสียหายถึงแก่ชีวิตก็ดี แก่ร่างกายก็ดี แก่อนามัยก็ดี ทรัพย์สินหรือสิทธิในอย่างใดอย่างหนึ่งก็ดี ท่านว่าผู้นั้นทำละเมิดจำต้องใช้ค้าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น”
การบังคับสิทธิในทางแพ่งว่าด้วยการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาในประเทศไทยนั้นพบเห็นได้น้อย ซึ่งคำนวณจากคดีความจำนวน 7,000 คดีต่อปีที่ยื่นไว้ต่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ มีคดีทางแพ่งเป็นจำนวนน้อยกว่า 300 คดีเท่านั้น
จำนวนตัวเลขที่น้อยของการบังคับสิทธิทางแพ่งนั้นเนื่องมาจากข้อเท็จจริงที่ว่า การดำเนินคดีทางแพ่งนั้นมีค่าใช้จ่ายสูงกว่าและใช้เวลายาวนานกว่าสำหรับโจทก์ รวมถึงภาระในการพิสูจน์ที่มาก และทรัพย์สินของจำเลย (เช่นผู้ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา) นั้นยากที่จะประเมินหรือยึดไว้ตรวจสอบ เจ้าของสิทธิจำต้องพิจารณาอย่างรอบคอบถึงความจำเป็นในการบังคับสิทธิในทางแพ่งและพร้อมที่จะแสดงหลักฐานที่ชัดเจนและแน่นหนาเพื่อกำหนดขอบเขตของการละเมิดและเพื่อให้ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางสามารถประเมินความเสียหายได้
อีกนัยหนึ่ง การดำเนินการทางแพ่งมีประโยชน์หลายประการเช่นกัน
ประการแรกคือ การฟ้องคดีแพ่งนั้นนำมาซึ่งการขอคุ้มครองถาวรสำหรับผู้ถูกละเมิด และเพื่อเรียกร้องค่าเสียหาย ตัวอย่างเช่น ในกรณีของการละเมิดลิขสิทธิ์ ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางอาจมีคำสั่งให้มีการชดใช้ค่าเสียหายที่เหมาะสมต่อเจ้าของสิทธิ โดยพิจารณาจากความรุนแรงของความเสียหาย รวมถึงผลกำไรที่สูญเสียไปและค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในการบังคับใข้สิทธิในทางทรัพย์สินทางปัญญา
ทั้งนี้ การขอคุ้มครองชั่วคราวนั้น ระบบทรัพย์สินทางปัญญาในประเทศไทยเอื้อให้มีระบบการคุ้มครองเพื่อคงไว้ซึ่งหลักฐานที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับการละเมิดที่ถูกกล่าวหา คำสั่งให้คุ้มครองชั่วคราวเหล่านี้มีประโยชน์อย่างยิ่งในการเพิ่มแรงกดดันให้กับจำเลย
คำแนะนำเกี่ยวกับการบังคับสิทธิในทางแพ่ง
คำแนะนำ | |||
ประโยชน์ของการบังคับสิทธิในทางแพ่ง | ข้อบกพร่องของการบังคับสิทธิในทางแพ่ง | ||
· ความเป็นไปได้ที่จะได้รับการคุ้มครองถาวรสำหรับผู้ถูกละเมิด และค่าเสียหายอันเป็นตัวเงินสำหรับความเสียหายที่เกิดจากการละเมิด
· ความเป็นไปได้ที่จะได้รับความคุ้มครองชั่วคราว |
· มีระยะเวลายาวนานกว่าและมีค่าใช้จ่ายสูงกว่าการบังคับสิทธิในทางอาญา
· ต้องมีหลักฐานการละเมิดและลักษณะพฤติกรรมที่มุ่งประสงค์ทางการค้าที่ชัดเจน · บังคับใช้คำพิพากษาของศาลได้ยาก เมื่อจำเลยไม่มีสินทรัพย์หรือแถลงว่าตนนั้นล้มละลาย |
||
มาตรการ ณ จุดผ่านแดน
นอกเหนือจากการดำเนินการทางอาญาหรือทางแพ่งต่อผู้ละเมิดแล้ว เจ้าของสิทธิทางทรัพย์สินทางปัญญายังสามารถอ้างอิงตามข้อกำหนดของพระราชบัญญัติศุลกากรไทยเพื่อป้องกันการนำเข้า หรือส่งออกสินค้าที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา
มาตรการ ณ จุดผ่านแดนสามารถบังคับใช้ได้เฉพาะกับกรณีการปลอมเครื่องหมายการค้าและสินค้าที่ละเมิดลิขสิทธิ์เท่านั้น โดยยังไม่มีความชัดเจนว่าพระราชบัญญัติศุลกากรให้ความคุ้มครองสินค้าที่ละเมิดสิทธิบัตรหรือไม่ แต่คาดว่าพระราชบัญญัติศุลกากรจะได้รับการแก้ไขในไม่ช้าเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว ในทางปฏิบัตินั้น สินค้าที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาส่วนใหญ่ที่ศุลกากรยึดไว้ มักเป็นสินค้าที่ละเมิดเครื่องหมายการค้า
เจ้าของเครื่องหมายการค้ามีทางเลือกที่หลากหลายในการขอความอนุเคราะห์จากศุลกากรของประเทศไทย ในการกักกันการขนส่งต้องสงสัยว่าบรรทุกสินค้าปลอม
ทางเลือกที่ 1: เจ้าของเครื่องหมายการค้าสามารถแสดงเจตนาของตนโดยการยื่นคำขอห้ามนำเข้า/ ส่งออกสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมต่อนายทะเบียนเครื่องหมายการค้า ณ กรมทรัพย์สินทางปัญญา จากนั้นกรมทรัพย์สินทางปัญญาจะส่งต่อคำขอดังกล่าวและเอกสารประกอบทั้งหมดไปยังกรมศุลกากรอย่างเป็นทางการ โดยทางศุลกากรจะแจ้งให้เจ้าของเครื่องหมายการค้าหรือตัวแทนทราบถึงการขนส่งที่น่าสงสัย และให้มีการตรวจสอบสินค้าเพื่อยืนยันว่าสินค้าเหล่านี้เป็นของปลอมหรือไม่ ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่ศุลกากรมีเวลาเพียง 24 ชั่วโมงนับจากวันที่กักกันสินค้าเพื่อรอการยืนยันว่าสินค้าเป็นของปลอม หากสินค้าไม่ได้รับการตรวจสอบก่อนที่จะหมดเวลาภายใน 24 ชั่วโมง กรมศุลกากรจำต้องปล่อยสินค้าต้องสงสัยไป
หากสินค้าที่กักไว้ได้รับการยืนยันว่าเป็นสินค้าปลอม เจ้าหน้าที่ศุลกากรจะยื่นคำร้องต่อผู้นำเข้า และแจ้งว่าสินค้าที่นำเข้านั้นเป็นสินค้าต้องห้ามและอาจปรับผู้นำเข้า โดยทั่วไปจะมีอัตราค่าปรับเป็นสองเท่าครึ่งของมูลค่าสินค้าในตลาดหากสินค้าถูกปล่อยไปตามขั้นตอนตามที่ศุลกากรกำหนด หากผู้นำเข้าไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของคณะกรรมการศุลกากร คดีดังกล่าวจะถูกส่งไปยังศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง โดยศาลมีอำนาจปรับผู้นำเข้าได้ไม่เกินสี่เท่าของมูลค่าสินค้าที่ยึดได้ ส่วนสินค้าที่ยึดไว้ได้โดยทั่วไปจะถูกทำลายทิ้ง
ทางเลือกที่ 2: หลังจากที่ได้แจ้งต่อนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่กรมทรัพย์สินทางปัญญาแล้ว เจ้าของเครื่องหมายการค้าสามารถยื่นคำร้องเพื่อขอให้ศุลกากรระงับการขนส่งสินค้าต้องสงสัยที่เจ้าของเครื่องหมายแจ้งไว้ได้ ในกรณีดังกล่าว เจ้าของเครื่องหมายการค้าจำเป็นต้องให้ข้อมูลโดยละเอียดเกี่ยวกับการขนส่งที่น่าสงสัยซึ่งเป็นที่ทราบว่ามาถึงประเทศไทยหรือจัดส่งจากประเทศไทย โดยเจ้าของเครื่องหมายการค้าพึงให้ข้อมูลที่ชัดเจนโดยละเอียดแก่เจ้าหน้าที่ศุลกากรเกี่ยวกับการขนส่ง เช่น ชื่อ หรือ การระบุเรือที่สงสัยว่าบรรทุกสินค้าปลอม เวลาที่มาถึงประเทศไทย สถานที่ที่จะเก็บสินค้าและ ชื่อผู้นำเข้า
โดยทั่วไปเจ้าของสิทธิพึงพอใจกับการทำงานของเจ้าหน้าที่ศุลกากร และทางเราแนะนำให้มีการติดตามสถานะทางศุลกากรอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับบริษัทที่มีความกังวลใจเกี่ยวกับการนำเข้าหรือส่งออกสินค้าปลอม จะมีการนำเข้า/ส่งออกจากประเทศไทย
บางบริษัทนั้นได้รับผลเชิงบวกจากการจัดฝึกอบรมแก่เจ้าหน้าที่ศุลกากร รวมถึงมีการออกจดหมาย หรือให้ข้อมูลเกี่ยวกับวิธีตรวจจับสินค้าปลอมอย่างต่อเนื่อง
คำแนะนำเกี่ยวกับการบังคับมาตรการ ณ จุดผ่านแดน
คำแนะนำ | |
ประโยชน์ของมาตรการจุดผ่านแดน | คำแนะนำสำหรับมาตรการจุดผ่านแดน |
|
|
การปราบปรามสินค้าปลอมทางออนไลน์
การซื้อสินค้าทางออนไลน์ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มลูกค้าวัยรุ่นและกลุ่มลูกค้าที่อาศัยอยู่ในเมืองที่มีความต้องการซื้อสินค้าหลากหลายประเภทตั้งแต่เสื้อผ้า เครื่องใช้ไฟฟ้า ภาพยนตร์ หรือผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง ซึ่งส่งผลให้การจำหน่ายสินค้าปลอมทางออนไลน์เพิ่มขึ้นเช่นเดียวกัน
การละเมิดลิขสิทธิ์ทางออนไลน์นับเป็นช่องทางการละเมิดที่ผู้ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญากระทำได้โดยมีโอกาสถูกจับได้น้อยกว่า และแม้ว่าจะมีกฎหมายด้านทรัพย์สินทางปัญญาเพื่อควบคุมการจำหน่ายสินค้าปลอม แต่บางครั้งบทบัญญัติก็มิได้ครอบคลุมไปถึงการจำหน่ายสินค้าปลอมทางออนไลน์ ทำให้ในปัจจุบันยังไม่มีการกำหนดกระบวนการหรือบทลงโทษบัญญัติไว้โดยเฉพาะว่าด้วยการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาประเภทการจำหน่ายสินค้าปลอมทางออนไลน์
โดยในที่นี้ หากมีการละเมิดเกิดขึ้น เจ้าของสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาสามารถดำเนินการเพื่อบังคับสิทธิของตนต่อการละเมิดลิขสิทธิ์ทางออนไลน์ได้ โดยการส่งหนังสือแจ้งเตือนไปยังผู้ให้บริการโดเมน หรือหลังจากที่มีการสอบสวน หรือดำเนินการตรวจค้นสถานที่เก็บสินค้า คลังสินค้าที่สามารถระบุตัวบุคคลหรือบริษัทที่ละเมิดลิขสิทธิ์ทางออนไลน์ได้ อย่างไรก็ตาม ผลลัพธ์จากการดำเนินการดังกล่าวนั้นไม่สามารถคาดเดาได้และอาจทำให้เกิดค่าใช้จ่ายเป็นจำนวนมากต่อเจ้าของสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาหากไม่สามารถค้นพบสินค้าที่ละเมิดเป็นจำนวนมากจากการสืบสวน ดังนั้น การเฝ้าระวังการละเมิดทางออนไลน์ในประเทศไทยจึงไม่ใช่เรื่องง่ายอย่างที่คิด เว็บไซต์ที่เสนอขายสินค้าปลอมมักแสดงผลเป็นภาษาไทย ในขณะที่ซอฟต์แวร์ปลอมมักแสดงผลในรูปแบบอักษรโรมัน ดังนั้น เจ้าของเครื่องหมายการค้าจึงจำต้องพึ่งพาที่ปรึกษากฎหมายชาวไทยหรือผู้สืบสวนเพื่อคอยเฝ้าระวังการละเมิดเครื่องหมายการค้า เนื่องจากบริษัทสาขาในประเทศส่วนใหญ่มักละเลยและไม่ได้มีการเฝ้าระวังการใช้โปรแกรมที่ผิดกฎหมายในพื้นที่
เจ้าของสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาอาจอ้างสิทธิตามพระราชบัญญัติคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 ซึ่งอนุญาตให้เจ้าหน้าที่ของรัฐสามารถรับข้อมูลคอมพิวเตอร์ของบุคคลอื่นเพื่อให้สามารถเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ ข้อมูลคอมพิวเตอร์ การแลกเปลี่ยนข้อมูล หรืออุปกรณ์สำหรับเก็บข้อมูลคอมพิวเตอร์ และยังอนุญาตให้สามารถระงับระบบคอมพิวเตอร์ต้องสงสัยได้อีกด้วย อย่างไรก็ตาม บทบัญญัติในพระราชบัญญัติคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 ยังไม่ได้มีการบัญญัติครอบคลุมถึงกรณีการละเมิดเครื่องหมายการค้าทางออนไลน์ และมีความเห็นแย้งว่า การปลอมแปลงข้อมูลคอมพิวเตอร์เข้าในระบบนั้นอาจทำให้เกิดความเสียหายต่อผู้อื่นจนอาจเข้าขั้นละเมิดเครื่องหมายการค้าทางออนไลน์หรือไม่ โดยในขณะนี้ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ได้มีการหารือเกี่ยวกับแนวทางใหม่เกี่ยวกับการเปิดให้สามารถยื่นคำร้องขอให้ยุติเว็บไซต์ที่เสนอขายสินค้าปลอม และจะมีการพิจาณาต่อไปว่าวิธีดังกล่าวจะสามารถควบคุมการละเมิดลิขสิทธิ์ออนไลน์ได้หรือไม่ ทางเราจึงแนะนำให้เจ้าของสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาร่วมแรงร่วมใจกัน และแจ้งปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์ออนไลน์ไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อกระตุ้นให้มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงกฎหมายปัจจุบันให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
มาตรการป้องกัน กลยุทธ์ และคำแนะนำที่สำคัญ
การตรวจสอบลักษณะอันพึงรับจดทะเบียนและการจดทะเบียน
ทางเราแนะนำอย่างยิ่งให้มีการตรวจสอบลักษณะอันพึงรับจดทะเบียนได้และยื่นขอจดทะเบียนสิทธิในทางทรัพย์สินทางปัญญาในประเทศไทยเป็นลำดับแรก โดยหากท่านต้องการคุ้มครองสิทธิในทางทรัพย์สินทางปัญญานั้น ย่อมไม่มีการลงทุนใดที่จะคุ้มค่า และมาตรการใดที่ปลอดภัยไปกว่าการได้รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า สิทธิบัตร สิทธิบัตรการออกแบบ หรือแม้แต่ลิขสิทธิ์ สิทธิที่ได้รับการจดทะเบียนจะทำให้ท่านสามารถบังคับใช้สิทธิของท่านได้ ในขณะที่สิทธิที่ไม่ได้รับการจดทะเบียนนั้นไม่สามารถบังคับใช้ได้ หรือบังคับใช้ได้แต่อาจต้องเสียค่าใช้จ่ายที่สูง
การสืบค้นฐานข้อมูลเครื่องหมายการค้า หรือการสืบค้นงานที่มีอยู่ก่อนนั้นเป็นขั้นตอนที่จำเป็นเนื่องจากเป็นขั้นตอนที่สามารถช่วยให้ท่านกำหนดกลยุทธ์ของท่านได้เป็นอย่างดี เพราะสามารถช่วยให้ท่านดำเนินแบรนด์ของท่านได้และเฝ้าระวังคู่แข่ง ตัวอย่างเช่น มีผู้ที่ถือโอกาสนำเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นมาจดทะเบียนโดยไม่ได้รับอนุญาต โดยบุคคลเหล่านั้นจะตรวจสอบว่าเครื่องหมายการค้าใดของบริษัทใดที่ยังไม่ได้รับการจดทะเบียนหรือไม่ได้ต่ออายุ คู่แข่งของบริษัทท่านก็อาจตรวจสอบผลิตภัณฑ์ และ/หรือ การออกแบบหรือขั้นตอนการประดิษฐ์ ว่าท่านได้จดทะเบียนสิทธิบัตรแล้วหรือยัง จากนั้นจึงหาช่องทางใช้เทคโนโลยีและความสร้างสรรค์ของท่าน ตัวอย่างเช่น บริษัทยาทั่วไปมักมีการตรวจสอบอยู่เป็นปกติว่า บริษัทเภสัชกรรมได้มีการจดทะเบียนสิทธิบัตรสำหรับผลิตภัณฑ์ยาที่ตนผลิตไปแล้วหรือไม่ เป็นต้น
มาตรการการป้องกันเหล่านี้ (การสืบค้นฐานข้อมูลและการยื่นขอรับจดทะเบียน) ไม่ต้องการเงินลงทุนหรือจำเป็นต้องใช้งบประมาณที่มาก ซึ่งย่อมไม่เป็นอุปสรรคต่อบริษัทที่จะคุ้มครองสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาของตน อาทิ การจดแจ้งลิขสิทธิ์ในประเทศไทยนั้นไม่มีค่าธรรมเนียม และค่าดำเนินการ รวมถึงค่าทนายความ ในการยื่นขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า หรือสิทธิบัตรออกแบบนั้นก็เป็นราคาที่เหมาะสม แม้สำหรับบริษัทขนาดย่อมที่เริ่มก่อตั้ง หรือผู้ลงทุนรายเดียว การยื่นขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์อาจเป็นขั้นตอนที่มีค่าใช้จ่ายมากพอสมควร แต่การลงทุนดังกล่าวย่อมนำมาซึ่งผลตอบแทนที่คุ้มค่าในระยะกลางหรือระยะยาว
การปรับใช้กลยุทธ์ความคุ้มครอง และกลยุทธ์ในการบังคับใช้การกฎหมาย
เจ้าของสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาควรเฟ้นหาที่ปรึกษาในพื้นที่ที่มีประสบการณ์ด้านการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา และมีความสัมพันธ์อันดีกับหน่วยงานรัฐต่างๆ
การวางกลยุทธ์ด้านการป้องกันและปราบปรามสินค้าปลอมต้องมีการปรับปรุงให้เหมาะสมกับยุคสมัย มีมาตรการเชิงรุก และปฏิบัติได้จริงเพื่อให้ตรงตามความต้องการของธุรกิจและตรงตามเป้าหมายของเจ้าของสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา ที่ปรึกษาในพื้นที่ควรมีความสามารถในการให้ความคิดเห็นทางกฎหมาย ให้คำแนะนำ ประเมินความเสี่ยง ค้นคว้าข้อมูลเพิ่มเติมได้อย่าอิสระ รวมถึงสามารถวางกลยุทธ์ด้านการฟ้องร้องดำเนินคดี ซึ่งจะทำให้เจ้าของสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาสามารถตัดสินใจได้อย่างเหมาะสม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ทางเราเห็นว่าไม่ควรมีการวางกลยุทธ์หากยังไม่มีความเข้าใจอย่างถ่องแท้เกี่ยวกับขอบเขตของการตีความของกฎหมายไทยและการบังคับใช้ทางกฎหมายในทางปฏิบัติ
การสร้างความตระหนักรู้
การสร้างความตระหนักรู้และการบ่มเพาะความรู้ด้านทรัพย์สินทางปัญญาในองค์กรเป็นอีกประการที่สำคัญอีกเช่นเดียวกันอาทิ บทบาทของผู้จัดจำหน่ายในพื้นที่ และผู้ได้รับอนุญาตให้ใช้สิทธิในการดูแลธุรกิจในพื้นที่ การนำมาใช้และควบคุมการเผยแพร่ความลับภายในบริษัท หรือการเก็บข้อมูลสิ่งประดิษฐ์และผลงานการออกแบบใหม่ ดังกล่าวมานี้เป็นตัวอย่างความรู้ความเข้าใจที่บริษัทสามารถเน้นย้ำว่าทรัพย์สินทางปัญญามีความสำคัญต่อการประกอบธุรกิจอย่างไร
การสื่อสารย่อมเป็นสิ่งสำคัญเช่นเดียวกัน การให้พนักงานได้มีส่วนร่วมในการเรียนรู้ ฝึกปฏิบัติงาน สัมมนา เกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญา และหน่วยงานผู้รับผิดชอบทรัพย์สินทางปัญญา เช่น การเรียนรู้เกี่ยวกับลิขสิทธิ์ เครื่องหมายการค้า เป็นต้น ย่อมเป็นตัวอย่างในการสื่อสารและสร้างความตระหนักรู้ให้กับพนักงานเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญา การสร้างความตระหนักรู้ให้กับเจ้าหน้าที่ศุลกากรและเจ้าหน้าที่ตำรวจเป็นการฝึกปฏิบัติที่มีบทบาทสำคัญเช่นกัน เพื่อให้เจ้าหน้าที่สามารถแยกแยะสินค้าที่ปลอมออกจากสินค้าจริงได้ และทำให้หน่วยงานทราบสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาของท่าน กิจกรรมเหล่านี้ยังช่วยให้แสดงให้เจ้าหน้าที่เห็นว่า สินค้าปลอมนั้นสร้างความเสียหายต่อภาพลักษณ์ของชาติและตลาดระหว่างประเทศอย่างไรบ้าง
แสวงหาร่วมมือ
เจ้าของสิทธิควรหาโอกาสในการเข้าร่วมและเฟ้นหาการสนับสนุนจากองค์กรที่มีความเป็นมืออาชีพ อาทิ สมาคมการค้า หรือหอการค้า ซึ่งไม่เพียงแต่เข้าร่วมกลุ่มเกี่ยวกับงานด้านทรัพย์สินทางปัญญาเท่านั้น เช่น การรวมกลุ่มที่พึ่งเกิดขั้นไม่นานนี้อย่างกลุ่มหอการค้ายุโรปประจำประเทศไทย ซึ่งการรวมกลุ่มดังกล่าวได้ส่งเสริมให้บริษัทต่าง ๆ เรียนรู้ด้านการปฏิบัติงาน อีกทั้งยังเปิดโอกาสให้บริษัทอื่นได้แจ้งปัญหาที่เกิดขึ้นโดยตรง ซึ่งเป็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และ/หรือให้ความคิดเห็นเกี่ยวกับการร่างกฎหมาย โดยในบางกรณี การพยายามเพื่อบังคับใช้สิทธิร่วมกันระหว่างหลายหน่วยงานสามารถช่วยลดค่าใช้จ่ายในการบังคับใช้สิทธิได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับแบรนด์ที่มีเจ้าของคนเดียวหรือเจ้าของลิขสิทธิ์
การร่วมงานกับหน่วยงานปราบปรามสินค้าปลอมของรัฐ
เจ้าของสิทธิพึงให้ความร่วมมือกับทุกหน่วยงานที่มีหน้าที่ปราบปรามสินค้าปลอมของรัฐ ความสัมพันธ์อันดีในการทำงานสามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการต่อสู้กับผู้ละเมิดได้ ความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกับเจ้าหน้าที่บังคับใช้กฎหมาย เช่น เจ้าหน้าที่ตำรวจหรือศุลกากรนั้นเป็นเรื่องสำคัญ บริษัทกฎหมายทางทรัพย์สินทางปัญญาหรือหน่วยงานสืบสวนที่ทำงานในนามของลูกความและเจ้าของสิทธิ ควรมีการให้ข้อมูลแก่เจ้าหน้าที่ผู้บังคับใช้กฎหมาย ตัวอย่างวิธีที่มีประสิทธิภาพ ได้แก่ การมอบเป็นหนังสือเล่มเล็กหรือแผ่นซีดีเพื่อให้ข้อมูลไว้แก่ศุลกากร ทำให้เจ้าหน้าที่สามารถแยกแยะสินค้าจริงออกจากสินค้าปลอมได้ กลยุทธ์ต่อมาคือการลงนามในบันทึกข้อตกลง เช่น หนังสือบันทึกข้อตกลงปีพ.ศ. 2549 ที่มีการลงนามระหว่างกรมทรัพย์สินทางปัญญา หน่วยงานบังคับใช้กฎหมาย เจ้าของสิทธิเอกชน บริษัทกฎหมาย บริษัทสืบสวน และห้างร้าน โดยวัตถุประสงค์ของข้อตกลงฉบับนี้คือ ต้องการระบุพื้นที่เป้าหมายที่มีชื่อเสียงด้านลบ เพื่อยับยั้งการจำหน่ายสินค้าปลอม เช่น ในข้อตกลงมีการระบุไว้ว่า หากมีคำสั่งให้เข้าตรวจค้นร้านค้าของผู้ค้าปลีกสองครั้ง ให้เจ้าของที่ขับไล่ผู้เช่าที่ออกไป เป็นต้น
การใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีเพื่อช่วยระบุสินค้าปลอม
บริษัทควรเฟ้นหาเทคโนโลยีที่สามารถสร้างระบบหรืออุปกรณ์ซึ่งสามารถนำไปใช้กับผลิตภัณฑ์หรือบรรจุภัณฑ์ของแท้ เพื่อช่วยให้ผู้บริโภคหรือหน่วยงานบังคับสามารถระบุผลิตภัณฑ์แท้ได้ว่ามีลักษณะเป็นอย่างไร ประการนี้สำคัญอย่างยิ่งโดยเฉพาะสินค้าซึ่งมีผลกระทบโดยตรงต่อสุขภาพอนามัยของผู้บริโภค (เช่น ยารักษาโรค) อาทิ บาร์โค้ด ภาพเสมือนจริง ตรา ตัวอักษรขนาดเล็ก ชิพ ระบบป้องกันการบรรจุสินค้าเข้าไปใหม่ กล่องป้องกันการงัดแงะ ฯลฯ ล้วนมีประโยชน์ในการป้องกันผลิตภัณฑ์แท้จากการถูกคัดลอกและช่วยให้ผู้บริโภคแยกความแตกต่างของผลิตภัณฑ์ของจริงจากของปลอมได้
รู้ว่าควรปรับตัวในสถานการณ์ใดและต้องมีความสม่ำเสมอ
คำแนะนำสุดท้ายของเราคือ ความยืดหยุ่นแต่ต้องสม่ำเสมอ กลยุทธ์ในการปกป้องทรัพย์สินทางปัญญาจำเป็นต้องมีการตรวจสอบอยู่เป็นระยะและต้องปรับตัวตามกลยุทธ์ทางธุรกิจและ / หรือสิ่งแวดล้อม กลยุทธ์การป้องกันสิทธิที่ดีนั้นจำต้องเป็นไปอย่างมีลำดับขั้นตอน ครั้นเมื่อท่านตั้งเป้าหมายไว้ชัดเจนแล้ว จงจดจ่อและมุ่งมั่นที่จะปกป้องทรัพย์สินทางปัญญาของท่านอยู่เสมอ